ว่านงาช้าง

ว่านงาช้าง

ชื่อสมุนไพร : ว่านงาช้าง
ชื่ออื่นๆ :
  ว่านงาช้างเขียว, หอกสุรกาฬ, ว่านงาช้างลาย, หอกสุรโกฬ
ชื่อสามัญ : Common Spear Plant, Spear Sansevieria
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sansevieria cylindrica Bojer ex Hook.
ชื่อวงศ์ : DRACAENACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นว่านงาช้าง เป็นไม้ล้มลุก ลําต้นอยู่ใต้ดิน สูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร เป็นว่านที่มีใบ โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินเหมือนงาช้าง หน่อทุกหน่อก็แทงขึ้นมาสูงประมาณ 1 ศอก ไม่มีกิ่ง ใบอ่อนของว่านงาช้าง จะมีสีเขียวสดใส พอแก่จัดสีเขียวของใบนี้จะเป็นสีเขียวเข้ม ออกสีลายขาวสลับกัน
    ว่านงาช้าง
  • ใบว่านงาช้าง ใบเดี่ยว แทงออกมาจากเหง้าและตาโผล่เหนือพื้นดินคล้ายลำต้นเทียม รูปทรงกระบอก ปลายแหลม สีเขียวตลอดทั้งใบ มีแถบสีเขียวเข้มพาดตามขวางสม่ำเสมอ ร่องตื้นพาดตามความยาวของใบ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร
  • ดอกว่านงาช้าง ออกดอกเป็นช่อ จากเหง้า ยาว 40-60 เซนติเมตร มีกาบหุ้มก้านช่อดอก ดอกย่อยเรียงเวียนรอบก้านช่อดอก ดอกสีขาวอมเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ปลายแยก 5 แฉก ม้วนงอไปด้านหลัง
  • ต้นว่านงาช้าง มี 2 ชนิด ชนิดที่มีสีเขียวล้วน และชนิดที่มีสีเขียวปนลายสีดํา การออกดอกของว่านงาช้างจะโผล่จากเหง้าตั้งตรง มีสีขาว และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ และมีกลิ่นหอมยาวนาน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก

สรรพคุณ ว่านงาช้าง :

  • ใบ (ส่วนที่เหมือนงางอกพ้นพื้นดินขึ้นมา) รสเอียน ตำกับสุรารับประทาน แก้เลือดตีขึ้นหน้า แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ขับโลหิตหลังคลอด โรคบาดทะยักในเรือนไฟ  แก้สิวฝ้า หน้าตกกระ
  • ราก  รสเอียน ตำคั้นน้ำดื่มถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวงทวารหนัก

ชาวมลายูและซูลู ในแอฟริกา ตัดเอาปลายใบไปอังไฟแล้วบีบเอาน้ำหยอดหูแก้ปวดหู
ในอินโดนีเซียคั้นเอาน้ำไปทาผมเป็นยาบำรุงรากเส้นผม ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม

Scroll to top