สะบ้า

สะบ้า

ชื่อสมุนไพร : สะบ้า
ชื่ออื่นๆ
: สะบ้ามอญ สะบ้าใหญ่ สะบ้าหลวง มะบ้าหลวง มะนิม หมากงิม บ้า ย่านบ้า สะบ้าหนัง สะบ้าแฝก กาบ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Entada rheedii Spreng.
ชื่อวงศ์ : Mimosaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นสะบ้า เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่
    สะบ้า
  • ใบสะบ้า เป็นใบประกอบแบบขนนก สองชั้น ใบย่อยรูปไข่กลับ กว้าง 1.3-3.5 ซม. ยาว 2.5-7 ซม. ปลายใบ แหลมถึงทู่เล็กน้อยและมักมีติ่งแหลม
  • ดอกสะบ้า สีขาวแล้วเปลี่ยน เป็นสีเหลือง ออกเป็นช่อแกนยาว 13-25 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก จำนวนมาก กลีบรองดอกรูปถ้วยปากกว้าง กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีแคบ ถึงรูปหอก รังไข่เกลี้ยง
  • ผลสะบ้า เป็นฝัก รูปขอบขนานตรง หรือโค้ง กว้าง 7-15 ซม. ยาวได้ถึง 2 เมตร เปลือกผลแข็งเป็นเนื้อไม้ แต่ละข้อมี 1 เมล็ด เมื่อแก่ข้อจะหักเป็นท่อนๆ เมล็ดสีน้ำตาล รูปกึ่งกลม แบน แข็ง ผิวมันเรียบ กว้าง 3.5-4 ซม.

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เถา, เมล็ด

สรรพคุณ สะบ้า :

  • เถา รสเมา ตำพอกผมหรือผิวหนัง ฆ่าพยาธิผิวหนัง
  • เมล็ด รสเมาเบื่อ เนื้อในเมล็ด ใช้ปรุงยาทาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้พยาธิ แก้มะเร็ง คุดทะราด ฆ่าเชื้อโรคผิวหนัง แก้หืด แก้เกลื้อน แก้กลาก
    *ใช้เมล็ดในสุมให้ไหม้เกรียมปรุงเป็นยารับประทาน แก้พิษไข้ตัวร้อน แก้ไข้ที่มีพิษจัดและเซื่องซึม
    *เนื้อในเมล็ดคั่วให้สตรีท้องคลอดกินจะทำให้คลอดง่าย
    *ตำรายาพื้นบ้านมุกดาหาร ใช้รักษาแผลฝีหนอง

ตำรายาพื้นบ้าน: ใช้น้ำมันจากลูกสะบ้า โดยนำเนื้อในมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว บอนท่า และกำมะถัน ใช้ทารักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้น้ำเหลืองเสีย

Scroll to top