ชื่อสมุนไพร : สุรามะริด
ชื่ออื่นๆ : ยางนางต้น, สะแกดง, สุรามริด, สุรามีฤทธิ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocculus Laurifolius DC
ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นสุรามะริด เป็นต้นไม้ขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 6 เมตร ผิวลำต้นสีหม่น กิ่งก้าน เปลือกบาง แข็งเปราะ
- ใบสุรามะริด ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปใบหอกกลับ กว้าง 3 – 5.5 เซนติเมตร ยาว 7 – 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือสอบเรียว โคนใบแหลม หรือรูปลิ่ม
- ดอกสุรามะริด ดอกช่อ แบบช่อกระจุกแยกแขนง ช่อแยกเพศ ออกที่ซอกใบ ยาว 0.5 – 4 เซนติเมตร ดอกเพศผู้สีเหลือง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น รูปรีกว้าง กลีบดอก 6 กลีบ รูปลิ่ม สีเหลือง ดอกเพศเมียมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 6 อัน
- ผลสุรามะริด ผลสด ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 มิลลิเมตร มี 1 เมล็ด กลมแข็งเมล็ดในแบ่งออกเป็น 3 กลีบ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : : น้ำมันจากใบ, ราก, เนื้อไม้
สรรพคุณ สุรามะริด :
- น้ำมันจากใบ รสร้อน ใบนำมากลั่นเอาน้ำมัน ซึ่งเราเรียกกันว่า “น้ำมันเขียว” ที่เรารู้จักกันทั่ว ๆ ไป นำมาใช้ทาภายนอก ทาถูนวด แก้ลมขัดข้อ ฟกซ้ำ แก้เส้นกระตุก ขับโลหิตให้ขึ้นสู่ผิวหนัง
- รากและเนื้อไม้ รสหอมร้อน ขับเลือด ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ บำรุงธาตุ
[su_quote]เปลือกของสุรามะริดหากนำมาแช่เหล้า จะทำให้เหล้าแรงขึ้น เลยเป็นที่มาของชื่อ “สุรามีฤทธิ์“[/su_quote]