หญ้าถอดปล้อง

หญ้าถอดปล้อง

ชื่อสมุนไพร : หญ้าถอดปล้อง
ชื่ออื่นๆ :
หญ้าเงือก, หญ้าหางม้า, หญ้าหูหนวก(เหนือ), หญ้าสองปล้อง, เครือเซาะปอยวา, แยปอ(กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), อื่อซอปวยว่อ, อื่อซอปอยวา(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), หญ้าถอดป้อง(คนเมือง), หรึยซอพอดัว (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) และ หญ้าปล้อง
ชื่อสามัญ : Horsetails, Scouring Rushes
ชื่อวิยาศาสตร์
: Equisetum ramosissimum subsp.
ชื่อวงศ์ : EQUISETACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหญ้าถอดปล้อง เป็นพืชชั้นต่ำที่มีท่อลำเลียง ไม่มีดอก ลำต้นกลม สีเขียว ภายในกลวง มีรอยแตกขนานตามยาวของลำต้น รูปทรงกระบอก สูงถึง 1 เมตร ขนาดผ่าศูนย์กลาง (0.2) 4-7 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านน้อย มีข้อปล้องชัดเจน
    หญ้าถอดปล้องหญ้าถอดปล้อง
  • ใบหญ้าถอดปล้อง ใบลดรูปเป็นเกล็ดเล็ก ๆ เรียงรอบข้อ ปลายลำมีสตรอบิลัส รูปกลมถึงรูปรี เป็นเยื่อบางๆ รูปสามเหลี่ยมรอบข้อ ยาว 8 มิลลิเมตร
  • ผลหญ้าถอดปล้อง ลักษณะเป็นโคนเกิดเดี่ยวๆ ที่ปลายกิ่ง รูปกลมรีป้อมๆ ขนาดกว้าง 0.3-0.6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวนอกมีตาเป็นรูปหลายเหลี่ยมชัดเจน ภายในมีสปอร์เพื่อการขยายพันธุ์ เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล

ส่วนที่ใช้เป็นยา :  : ทั้งต้น

สรรพคุณ หญ้าถอดปล้อง :

  • ทั้งต้น ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว บำรุงไต ขับระดูขาว ตำพอก รักษาบาดแผล แก้ปวดตามข้อ แก้ปวดกระดูกหักหรือเดาะ แก้อาการปวดหลังปวดเอว แก้โรคบิด และช่วยเจริญอาหาร ฆ่าเชื้อ สมานแผล รักษาแผลในกระเพาะอาหาร รักษาโรคเกาต์ สร้างความแข็งแรงของผม เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหนังศีรษะ กระตุ้นรูขุมขน ลดการผลิตไขมันหรือน้ำมันในหนังศีรษะ

ต้นหญ้าถอดปล้อง พบขึ้นในที่ชื้นและกลางแจ้ง หรือริมลำธาร ขนาดของต้นต่างกันค่อนข้างมากตามความอุดมสมบรูณ์ของพื้นที่ เส้นผ่านศูนย์กลางต้น 3- 7 มม.

Scroll to top