หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น

ชื่อสมุนไพร : หญ้าฝรั่น
ชื่อสามัญ : Saffron, True Saffron, Spanish Saffron และ Crocus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crocus sativus Linn.
ชื่อวงศ์ : IRIDACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหญ้าฝรั่น จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงของลำต้นประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลำต้นจะอยู่ใต้ดิน และมีหัวเป็นเมล็ดกลมสีน้ำตาล มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร เมื่อสังเกตดูจะพบว่ามีลักษณะคล้ายหัวเผือกหรือหัวหอม ซึ่งบริเวณนี้จะเป็นที่สะสมของแป้ง
    หญ้าฝรั่น หญ้าฝรั่น
  • ใบหญ้าฝรั่น จะมีสีเขียว ลักษณะใบยาว เรียว แคบ และปลายแหลม แต่ละใบมีความยาวถึงประมาณ 40 เซนติเมตร
  • ดอกหญ้าฝรั่น มักออกในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยจะมีส่วนของก้านดอกแทงออกมาจากหัวใต้ดิน ดอกมีสีม่วง ลักษณะของดอกจะคล้ายกับดอกบัว มีกลีบดอกลักษณะเรียวยาวคล้ายรูปไข่ จำนวน 5-6 กลีบ ภายในดอกมีเกสรขนาดยาวโผล่ออกมาเหนือดอก โดยเกสรตัวเมียมีจะสีแดงเข้ม มีลักษณะเป็นง่าม 3 ง่าม เมื่อออกดอกแล้วจะมีอายุอยู่ได้นานประมาณ 2-3 สัปดาห์
    หญ้าฝรั่น
  • สมุนไพรชนิดนี้มักเจริญเติบโตในที่ลาดเขาซึ่งพบได้เพียงไม่กี่ที่

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เกสร, ลำต้น, ดอก, ราก

สรรพคุณ หญ้าฝรั่น :

  • เกสร บรรเทาอาการปวดท้อง แก้อาการปวดในกระเพาะอาหาร คลายกล้ามเนื้อประสาท ช่วยความเครียด เกสรหญ้าฝรั่นถนอมสายตา ลดโอกาสการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม รักษาภาวะซึมเศร้า บำรุงโลหิต และช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด

 

 

 

 

  • ต้น บำรุงหัวใจ
  • ดอก แก้ไข้ และรักษาภาวะซึมเศร้า
  • ราก แก้อาการบิด และแก้ไข้

เกสรหญ้าฝรั่น  คือยอดเกสรเพศเมียสีแดงสดยื่นยาวออกมาโผล่พ้นเหนือดอก มีลักษณะเป็นง่าม 3 ง่าม แต่ละง่ามมีความประมาณ 25-30 มิลลิเมตร มักเก็บดอกเมื่อตอนดอกเริ่มบาน ส่วนที่เก็บคือเกสรตัวเมีย โดย 1 ดอกจะมีเกสรอยู่เพียง 3 เส้นเท่านั้น ส่วนวิธีการเก็บก็คือเด็ดออกจากดอกแล้วเอามาทำให้แห้งด้วยการคั่ว นอกจากนี้การเก็บเกสรต้องรีบเก็บในวันเดียวเพราะว่าดอกจะโรยหมด แล้วยังต้องรีบนำมาคั่วให้แห้งในทันที ส่วนการเก็บก็ต้องใช้แต่แรงงานคนเท่านั้นประกอบกับว่าพืชชนิดนี้มักขึ้นในที่ลาดเขาซึ่งมีอยู่ไม่กี่แห่งในโลก โดยดอกหญ้าฝรั่นประมาณ 100,000 ดอก จะให้เกสรตัวเมียที่แห้งแล้วประมาณ 1 กิโลกรัม หรือที่เราเรียกว่า “หญ้าฝรั่น” นั่นเอง ซึ่งมีราคาแพงมาก ๆ และมีค่ามากกว่าทองคำเมื่อเทียบน้ำหนักกัน

ข้อควรระวัง : การใช้หรือบริโภคหญ้าฝรั่นเป็นจำนวนมาก อาจทำให้เกิดอาการอาเจียน วิงเวียนศีรษะ เลือดออกภายในมดลูก ถ่ายเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล เลือดออกบริเวณเปลือกตาและริมฝีปาก อ่อนเพลีย ผิวเหลือง ตัวสั่น กล้ามเนื้ออ่อนตัว หรืออาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ปริมาณการบริโภคหญ้าฝรั่นที่เหมาะสมต่อวันจึงไม่ควรเกิน 1.5 กรัม และหากพบอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

Scroll to top