ชื่อสมุนไพร : หญ้าพันงูเขียว
ชื่ออื่น ๆ : หญ้าหนวดเสือ(ภาคเหนือ), เจ้กจับกบ(ตราด), สี่บาทสารพัดพิษ(ภาคกลาง), หญ้าหางงู(ภาคใต้), เดือยงู , พระอินทร์โปรย(ชุมพร), ยี่หลงเปียน(จีนกลาง), เง็กเล้งเบียง(แต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Brazilian Tea, Bastard Vervain, Jamaica False Veravin, Arron is Rod.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stachytarpheta jamaicensis (L.) Vahl (S.indica Vahl) (Veabena jamaicensis L.)
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นพันงูเขียว เป็นพรรณไม้ล้มลุก คล้ายพวกหญ้า ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 50 ซม. และจะแตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง
- ใบพันงูเขียว เป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปไข่ ออกตรงข้ามกัน ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายแหลม ฐานเป็นรูปลิ่ม ใบมีความยาวประมาณ 4-6 ซม. และกว้างประมาณ 2-3ซม.
- ดอกพันงูเขียว จะออกเป็นช่อยาวสีม่วงน้ำเงิน และเป็นรูปกลมงอเล็กน้อย มีอยู่ 5 กลีบ ดอกนั้นออกที่ยอด มีเกสรตัวผู้อยู่ 2 อันและมีรังไข่อยู่ 2 ห้อง ดอกจะออกในฤดูร้อน
- ผลพันงูเขียว จะมีกลีบเลี้ยงหุ้ม ถ้าผลแห้งสามารถแตกได้
ส่วนที่ใช้เป็นยา : : ทั้งต้น, ใบ, เปลือกต้น
สรรพคุณ หญ้าพันงูเขียว :
- ทั้งต้น ใช้รักษาโรคปวดข้อ โรคตาแดง โรคกระเพาะ โรคนิ่ว รักษาอาการอาเจียน ขับพยาธิ และใช้ต้นสดตำพอกตามบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ โดยใช้ใบสดตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาล ใช้อม และยังใช้ทาถูนวดรักษาอาการปวดเมื่อย และรักษาฝีหนอง
- ใบ รักษาคออักเสบ โดยใช้ใบสดตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำตาล ใช้อม และยังใช้ใบทาถูนวดรักษาอาการปวดเมื่อยและรักษาฝีหนอง
- เปลือกต้น ใช้รักษาอาการท้องเสีย และโรคบิด