หญ้ายาง

หญ้ายาง

ชื่อสมุนไพร : หญ้ายาง
ชื่ออื่นๆ :
ใบต่างดอก, ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ(กรุงเทพ), หญ้าน้ำหมึก(ภาคเหนือ), หญ้าหลังอึ่ง(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก, หญ้าสองพันห้าร้อย(คนเมือง), ผักบุ้งป่า(ปะหล่อง), จ๊าผักบุ้ง(ไทลื้อ)
ชื่อสามัญ :  Painted spurge, Mexican fire plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia heterophylla L
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหญ้ายาง เป็นไม้ล้มลุก ทรงเรือนยอดทรงกระบอก มีความสูงของต้นประมาณ 50 เซนติเมตร มีความกว้างประมาณ 30 เซนติเมตร มีลำต้นตั้งตรง เปลือกของลำต้นมีสีเขียว ผิวเรียบ เมื่อหักแล้วจะมียางสีขาวขุ่น
  • ใบหญ้ายาง เป็นใบเดี่ยวสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบเรียวแหลม ส่วนโคนใบเรียวสอบ ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 6.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10 เซนติเมตร การเรียงตัวของใบบนกิ่งตรงข้ามและสลับตั้งฉาก
    หญ้ายาง
  • ดอกหญ้ายาง ออกดอกเป็นช่อกระจุกบริเวณปลายยอด กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีเขียวและไม่มีกลีบดอก ส่วนเกสรตัวผู้มีจำนวน 4 อัน สีเหลือง ปลายเกสรเป็นกระเปาะ ส่วนเกสรตัวเมียมีจำนวน 1 อัน สีเหลือง ปลายเกสรแยกออกเป็น 4 แฉก ส่วนรังไข่เหนือวงกลีบ ไม่มีกลิ่น
    หญ้ายาง
  • ผลหญ้ายาง ลักษณะกลมแป้น ผลออกเป็นกลุ่ม ผลสดจะมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด โดยผลอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนผลแก่เป็นสีน้ำตาล ลักษณะของผลกลมแป้น มีเมล็ด 3 เมล็ด สีเขียว

ส่วนที่ใช้เป็นยา :  : ยอดอ่อน

สรรพคุณ หญ้ายาง :

  • ยอดอ่อน รับประทานสด แก้อาการท้องผูก เป็นยาถ่าย ไม่ระบุส่วนที่ใช้ เป็นยารักษาหิด แก้พิษฝีภายในและภายนอก ขับน้ำนม แก้พิษงู พิษแมลง แก้โรคผิวหนังพุพอง

ข้อควรระวัง ! : ต้นหญ้ายางจะมียางสีขาวขุ่นอยู่ทั้งลำต้น หากสัมผัสผิวหนัง พิษของยางจะทำให้ผิวหนังอักเสบได้ และบริเวณก้านใบจะมีขนที่ทำให้เกิดอาการคัน จึงไม่ควรสัมผัสโดยตรง

Scroll to top