หญ้าไซ

หญ้าไซ

ชื่อสมุนไพร : หญ้าไซ
ชื่ออื่นๆ
 : หญ้าไทร, หญ้าทราย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leersia hexandra Sw
ชื่อวงศ์ : POACEAE (GRAMINEAE)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นหญ้าไซ เป็นหญ้าที่ขึ้นในน้ำ มีอายุข้ามปี (perennial) ลำต้นตั้งตรง อ่อนไม่แข็ง และมักทอดขนานไปกับพื้น รากแตกออกที่ฐาน หรือตามข้อของลำต้นที่ทอดขนานไปตามพื้นดินหรือในน้ำ ต้นสูง 30-70 ซม. ลำต้นกลม และเรียบ ภายในกลวง มีแนวลายเส้นละเอียดปรากฎอย่ตามยาวของลำต้น ที่ข้อของลำต้นจะมีขนสีขาวสั้นๆ อยู่โดยรอบ
    หญ้าไซ
  • ใบหญ้าไซ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับข้างกัน โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ยาว 6-12 ซม. ค่อนข้างหนาและอวบ บริเวณโคนแผ่นใบที่ต่อกับกาบใบจะมีเยื่อบางๆ  ยาว 4-9 มม. ค่อนข้างแห้งและแข็งติดอยู่ แผ่นใบยาวเรียว ยาว 7-12 ซม. กว้าง 8-10 มม. ปลายแหลม ผิวใบหยาบสากมือทั้งสองด้าน แผ่นใบมักจะม้วนในเวลากลางคืนหรือเมื่อแห้งแล้ง
  • ดอกหญ้าไซ ออกเป็นช่อ ยาว 5-8 ซม. ประกอบด้วยช่อดอกย่อยจำนวนมาก ซึ่งเรียงสลับกันอยู่บนแกน ช่อดอกย่อยยาว 3-3.5 มม. ค่อนข้างแบน ประกอบด้วยดอกย่อยเพียงดอกเดียว ไม่มีกาบ ดอกย่อยแต่ละดอก มีกาบนอก ยาว 3-3.5 มม. ซึ่งจะพบงอเข้าหากัน ค่อนข้างแข็ง และมีปลายแหลม สีขาวหรือสีม่วง อยู่ระหว่างลายเส้นสีเขียวซึ่งมีอยู่ 5 เส้น บนลายเส้นจะมีหนามเล็กๆ กาบในแคบและสั้นกว่ามาก ปลายแหลม มีลายเส้น 3 เส้น ส่วนของกลีบดอกที่ลดรูปไป 2 อัน มีขนาดเล็ก เกสรตัวผู้ 6 อัน อับละอองเรณูสีเหลือง เกสรตัวเมียมีรังไข่ขนาดเล็ก ท่อรังไข่ 2 อัน มีขนปกคลุม
  • ผลหญ้าไซ ขนาดเล็ก รูปยาว ติดเมล็ดน้อยมาก มักร่วงไปพร้อมกับดอก พบในนาข้าว

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น

สรรพคุณ หญ้าไซ :

  • ทั้งต้น รสจืดขื่น ขับปัสสาวะ ขับและฟอกโลหิต แก้โลหิตระดูเป็นลิ่มเป็นก้อนดำเน่าเหม็นให้เจ็บปวดตามท้องน้อย บั้นเอว และเป็นยาบำรุงโลหิตในตัวด้วย ขับฟอกพิษในตับ
Scroll to top