หมี

หมี

หมี

ชื่อสามัญว่า Bear
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ursus arctos
จัดอยู่ในวงศ์  Ursidae

เป็นสัตว์วัตถุที่นำมาใช้ทำยา อยู่ในกลุ่ม “สัตว์บก” คือ สัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก และหากินบนบก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เขี้ยว, กระดูก, ดีหมี

สรรพคุณ หมี :

  • เขี้ยว สรรพคุณ ดับพิษ พิษอักเสบ แก้ตัวร้อน แก้พิษตานซาง ปวดในข้อ เส้นเอ็น แก้ช้ำในกระจายเลือด
  • กระดูก สรรพคุณ บำรุงโลหิต กระจายโลหิต บำรุงกำลัง

แพทย์แผนไทยใช้ดีหมีเป็นทั้งเครื่องยาและกระสายยา ตำราสรรพคุณยาโบราณ ว่า

  1. ดีหมี รสขม หวาน มีสรรพคุณ ดับพิษร้อนภายใน แก้พิษเพ้อคลั่ง สติลอย ตาลอย บำรุงน้ำดี ขับรถยาให้แล่นทั่วตัว ใช้ดีหมีเป็นยากระจายเลือดลิ่มสำหรับบุคคลที่ซ้ำซอกเนื่องจากตกต้นไม้หรือตกจากที่สูง หรือถูกของแข็งกระแทก ทำให้ฟกช้ำ นอกจากดีหมีแล้ว
  2. เขี้ยวหมี แพทย์แผนไทยยังรู้จักใช้ “เขี้ยวหมี” เป็นเครื่องยาในตำรับยาหลายขนาน เช่น ยาแก้ไขขนานหนึ่งใน พระคัมภีร์มหาโชตรัต ดังนี้ สิทธิการิยะ ถ้าผู้ใดเปนไข้แลให้ร้อนภายในให้อยากน้ำนัก แลตัวคนไข้นั้นให้แข็งกระด้างดุจดังท่อนไม้แลท่อนฟืน ให้ตัวนั้นเปนเหน็บชาไปทั่วทั้งกายหยิกไม่เจ็บ ท่านว่าเกิดกาฬภายในแลให้ปากแห้งคอแห้งฟันแห้งนมหดหู่ให้เปนต่างๆนั้น ท่านว่ากาฬผุดออกยังไม่สิ้นยังอยู่ในหัวใจนั้น  ถ้าจะแก้ให้เอารากกะตังบาย ๑   จันทน์ทั้งสอง ๑   สนเทศ ๑   ระย่อม ๑   พิศนาศ ๑   รากแตงเถื่อน ๑   รากหมูปล่อย ๑   หัวมหากาฬ ๑   หัวกะเช้าผีมด ๑   รากไคร้เครือ ๑   ใบระงับ ๑   ใบพิมเสน ๑   ใบเฉียงพร้าหอม ๑   ใบทองพันชั่ง ๑   เขากวาง ๑   งาช้าง ๑   เขี้ยวเสือ ๑   เขี้ยวหมี ๑   เขี้ยวจระเข้ ๑   เขี้ยวหมูป่า ๑   เขี้ยวแรด ๑   กรามนาคราช ๑   เขี้ยวปลาพยูน ๑   เกสรดอกบัวน้ำทั้ง ๗   ผลสมอพิเภก ๑   เทียนดำ ๑   ใบสะเดา ๑   เปลือกไข่เป็ดสด ๑   ผลจันทน์ ๑   ดอกจันทน์ ๑   สมอไทย ๑   รากมะรุมบ้าน ๑   รวมยาทั้งนี้เอาเสมอภาค   ทำผง   แล้วจึงบดปั้นแท่งไว้   ฝนด้วยน้ำดอกไม้   ทั้งกินทั้งพ่น   แก้สรรพไข้ทุกอันดังกล่าวมานั้น   หายแล อนึ่ง “เขี้ยวหมี”  เป็นเครื่องยาอย่างหนึ่งในพิกัดยาไทยที่เรียก “นวเขี้ยว”  หรือ “เนาวเขี้ยว” ได้แก่  เขี้ยวหมูป่า  เขี้ยวหมี  เขี้ยวเสือ  เขี้ยวแรด  เขี้ยวหมาป่า  เขี้ยวปลาพะยูน  เขี้ยวจระเข้  เขี้ยวเลียงผา  และงาช้าง

 

Scroll to top