หลักการปรุงยา

หลักการปรุงยา

หลักการปรุงยา  ยาไทยปรุงขึ้นจากพืช  สัตว์  แร่ธาตุ  จากวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมิได้สกัดกลั่นเอาเฉพาะเนื้อยาที่แท้  จึงมีส่วนที่เป็นกากเจือปนอยู่มาก  ดังนั้น  ยาไทยจึงกำหนดให้ใช้ตัวยาที่มีปริมาณมาก  และตัวยาหลายสิ่งรวมกัน  อย่างไรก็ตามโครงสร้างของยาไทยสามารถแบ่งออกสรรพคุณของตัวยาออกเป็นส่วนๆได้ดังนี้ คือ

ตัวยาตรง  คือ  ยาที่มีสรรพคุณบำบัดโรคและไข้  โดยเฉพาะเรื่องอาจจะมีรสขมมาก  รสเปรี้ยวมากมีรสเค็มมากๆ  ไม่อาจจะรับประทานได้มาก  เพราะรสไม่อร่อย  และโรคแทรกก็มี  แพทย์จึงได้หาตัวยาช่วยอีกแรงหนึ่งจะได้รักษาโรคและไข้หายเร็วขึ้น

ตัวยาช่วย  คือ  เมื่อมีโรคแทรก  โรคตาม  หรือโรคหลายโรครวมกัน  แพทย์ก็ใช้ตัวยาช่วยในการรักษาไอก็มีตัวยากัดเสมหะช่วยด้วย

ตัวยาประกอบ  เพื่อป้องกันโรคตามและช่วยบำรุงแก้ส่วนที่หมอเห็นควร  หรือาจจะใช้เป็นยาคุมฤทธิ์ยาอื่น  เช่น  ลูกผักชีล้อม  ใส่เพื่อแก้อาการไข้ในท้องในยาต่างๆ

ตัวยาชูกลิ่น  ชูรส  และแต่งสีของยา ตัวยาชูกลิ่นนี้ หากบางครั้งการปรุงยารักษาโรคอาจจะมีกลิ่นไม่น่ารับประทาน ก็ต้องอาศัยตัวยาชูกลิ่นให้น่ารับประทานหรือบางคราวยามีรสขมมากเกินไป  ก็ควรใช้ยาชูรสให้รับประทานได้ง่าย  เช่น  ควรเติมรสหวานเข้าไปบ้างก็ควรเติม ใช่แต่เท่านั้น สีของยาถ้ามีสีสดก็น่ารับประทาน หรือสีแดงอ่อนๆ ก็น่ารับประทาน

ทั้ง   4  ประการนี้ ซึ่งได้กล่าวมาพอสังเขป เป็นหลักของการปรุงยา ซึ่งตามหลักของการปรุงยาสากลก็ยังนิยมใช้กันอยู่จำนวนหลายสิ่งหลายอย่างเหล่านี้ ต่างรวมและแบ่งสรรพคุณกันไป ทำการุณบำบัดรักษาโรคและรวมพลังสรรพคุณรุนแรงขึ้น เพื่อต่อสู้กับสมุฏฐานของโรคได้ ซึ่งอาจมีโรคแทรกโรคตามผสมกันอยู่ดังได้บรรยายมาแล้ว

Scroll to top