ชื่ออื่น : อวดเชือก
ชื่ออื่น : ถั่วแป๋เถา(เชียงใหม่), แกดำ(หนองคาย), แหนเหลือง(กาญจนบุรี), ขมิ้นเครือ(ปราจีนบุรี, ภาคอีสาน), มันแดง, แหนเครือ (ภาคเหนือ), ผ่อนออึ, ซิคริ๊บ่อ(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), เครืออวดเชือก, หมุยขน(นครศรีธรรมราช)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Combretum latifolium Blume.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นอวดเชือก เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดเล็ก ชอบเลื้อยพันต้นไม้อื่น กิ่งอ่อนเกลี้ยงมีสีแดงอ่อน ๆ หรือเรื่อ ๆ ลำต้นมีความสูงหรือยาวได้ประมาณ 5-15 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำเถา เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ดีและเร็วในดินที่ร่วนซุย
- ใบอวดเชือก เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ใบเป็นรูปมนรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ส่วนขอบใบเรียบ มีขนาดกว้างประมาณ 5-9 เซนติเมตร และยาวได้ประมาณ 8-12 เซนติเมตร พื้นใบเป็นสีเขียว เนื้อใบหาและเหนียว มีก้านใบยาวประมาณ 0.7-2 เซนติเมตร
- ดอกอวดเชือก ออกดอกเป็นช่อกจุก โดยจะบริเวณปลายยอดหรือตามง่ามใบ สีขาวแกมเขียว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีกลีบดอก 4 กลีบ ลักษณะค่อนข้างกลมเกลี้ยง มีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร กลางดอกมีเกสร 8 อัน
- ผลอวดเชือก ลักษณะของผลค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปไข่แกมวงรี มีขนาดประมาณ 1 นิ้ว ผลเมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ 1 เมล็ด รอบผลมีกลีบ 4 กลีบหรือที่เรียกว่าปีก สีน้ำตาลอ่อน
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ใบอ่อน, ผล, ทั้งต้น, เนื้อไม้
สรรพคุณ อวดเชือก :
- ราก ขับประจำเดือนของสตรี รักษากามโรค
- ใบอ่อน แก้อาการร้อนใน
- ทั้งต้น แก้อาการปวดท้องจากท้องเสีย
- ผล ช่วยเจริญอาหาร ยาบำรุง
- เนื้อไม้ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ สมานลำไส้