ชื่อสมุนไพร : เข็มแดง
ชื่ออื่นๆ : เงาะ(สุราษฎร์), ตุโดปุโยบูเก๊ะ(มลายู), จะปูโย(มะละยู-นรา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ixora Lobbii Loud.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นเข็มแดง เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลัษณะต้นนั้นจะคล้ายเข็มขาว
- ใบเข็มแดง ใบนั้นจะหนายาว และแข็งมีสีเขียวสด ตรงปลายใบของมันจะแหลม
- ดอกเข็มแดง จะออกรวมกันเป็นช่อใหญ่แบนมีสีแดงเข้ม ดอกนั้นจะโตกว่าเข็มขาวมาก แต่ไม่มีกลิ่นหอม
- ผลเข็มแดง มีลักษณะกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก
สรรพคุณ เข็มแดง :
- ราก ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงไฟธาตุ บรรเทาอาการบวม รักษาตาพิการ รักษากำเดา รักษาเสมหะ ใช้แก้ไข้ เจริญอาหาร ลดความดันโลหิต แก้บ้าคลั่ง ทำให้นอนหลับ ขับพยาธิ พบว่ารากมีแอลคาลอยด์ Reserpine ซึ่งมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต และกล่อมประสาท อาการข้างเคียงของการใช้ยานี้คือ ทำให้ฝันร้าย ซึมเศร้า คัดจมูก
เอกสารอ้างอิง
- วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: น. 399, กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
- ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม, กองประกอบโรคศิลปะ, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข