ชื่อสมุนไพร : เจตมูลเพลิงแดง
ชื่ออื่น ๆ : คุ้ยวู่, ปิดปิวแดง, ตั้งชู้โว้, ไฟใต้ดิน, อุบ๊ะกูจ๊ะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plumbago indica L.
ชื่อวงศ์ : PLUMBAGINACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นเจตมูลเพลิงแดง เป็นไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก สูงราว 1-1.5 เมตร มีอายุหลายปี กิ่งก้านมักทอดยาว ยอดอ่อนสีแดง ลำต้นกลมเรียบ กิ่งอ่อนสีเขียวปนแดง มีสีแดงบริเวณข้อ
- ใบเจตมูลเพลิงแดง เป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 8-13 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน มีสีเขียว ใบบาง แผ่นใบมักบิด ก้านใบและแกนกลางใบอ่อนมีสีแดง
- ดอกเจตมูลเพลิงแดง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด ยาว 20-90 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. มีดอกย่อยจำนวนมาก ประมาณ 10-15 ดอก ดอกออกเป็นช่อตั้งขึ้นที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด กลีบดอกสีแดงสด กลีบบางมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็กๆ ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 2 ซม. ปลายกลีบกลม เป็นติ่งหนามตอนปลาย ใบประดับและใบประดับย่อยรูปไข่ขนาดเล็ก ยาว 0.2-0.3 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดตรงข้ามกลีบดอก อับเรณูยาวประมาณ 2 มม. รังไข่รูปรี ก้านเกสรเพศเมียมีหลายขนาดมีขนยาวที่โคน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอก เป็นหลอดเล็ก ยาว 0.5-1 เซนติเมตร สีเขียว และมีขนเหนียวๆปกคลุม เมื่อจับรู้สึกเหนียวมือ
- ผลเจตมูลเพลิงแดง ลักษณะเป็นฝักกลม ทรงรียาว เป็นผลแห้งเมื่อแก่แตกตามร่องได้
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ใบ, ต้น, ดอก
สรรพคุณ เจตมูลเพลิงแดง :
- ราก รสร้อน เป็นยาบำรุงไฟธาตุ บำรุงโลหิต ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหารให้ผายเรอ ขับพยาธิ แก้ปวดข้อ ขับประจำเดือนสตรี ใช้ผสมในยาบำรุงสำหรับสตรีหลังคลอด เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดเสียด แน่นหน้าอก ทำให้ร่างกายเกิดความอบอุ่น แต่กินมากอาจทำให้แท้งลูกได้ (ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์) แพทย์โบราณนิยมใช้รากเจตมูลเพลิงแดงมากกว่าเจตมูลขาวเพราะมีฤทธิ์แรงกว่า
- ใบ รสร้อน แก้ลมในกองเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร ขับผายลม แก้น้ำดีในฝัก
- ต้น รสร้อน แก้โลหิตอันเกิดแต่กองกำเดา
- ดอก มีรสร้อน แก้น้ำดีในฝัก
[su_quote cite=”The Description”]ข้อห้ามใช้ : หญิงที่มีครรภ์ห้ามรับประทานรากของต้น เพราะรากนี้จะมีสารบางอย่างที่ทำให้แท้ง[/su_quote]
[su_note note_color=”#23933d”]ยางจากรากเมื่อถูกผิวหนังจะทำให้ไหม้ พอง เหมือนโดนไฟจึงได้ชื่อว่า “เจตมูลเพลิง”[/su_note]