ชื่อสมุนไพร : เดือย
ชื่ออื่น ๆ : เดือยหิน, มะเดือย (พายัพ), ลูกเดือย(ใต้), เป้นี(กะเหรี่ยง-กำแพง), สกูย(เขมร)
ชื่อสามัญ : Jobs tears
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coix lachryma-jobi L.
ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นเดือย เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีลักษณะลำต้นเหมือนกับหญ้าทั่วไป คือ มีลำต้นทรงกลม และตั้งตรง ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน สูงประมาณ 1-3.5 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้อง มีใบแตกออกบริเวณข้อ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอมเทา และมีนวลขาวปกคลุม เมื่อลำต้นเริ่มตั้งต้นได้หรือมีอายุตั้งแต่ 2 เดือน แล้ว ก็จะจะแตกลำต้นหรือเหง้าเพิ่มเป็น 4-5 ลำต้น
- ใบเดือย เป็นแผ่นเรียวยาว สีเขียวสด แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่า ประกอบด้วยกาบใบที่หุ้มลำต้น ถัดมาเป็นโคนใบที่เป็นหยัก และต่อมาเป็นแผ่นใบ ขนาดประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-45 เซนติเมตร ปลายใบแหลม แผ่นใบมีเส้นกลางใบชัดเจน ขอบใบเรียบ และมีความคม บาดมือได้ง่าย
- ดอกเดือย ออกเป็นช่อตรงปลายยอดของลำต้นคล้ายกับดอกของหญ้าทั่วไป มีช่อดอกยาว 3-8 เซนติเมตร ดอกแบ่งเพศกันอยู่คนละดอกแต่อยู่บนช่อดอกเดียวกัน จำนวนดอกต่อประมาณ 10-20 ดอก หรือมากกว่า แต่ดอกทั้ง 2 ชนิด มักบานไม่พร้อมกันจึงมักทำให้มีการผสมเกสรข้ามต้นกัน
- ผลเดือย ผลของลูกเดือยจะเรียกว่า ผลปลอม เพราะมีเฉพาะเมล็ดที่อยู่ด้านใน ซึ่งจะประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาล เปลือกหุ้มนี้ค่อนข้างบาง แต่แข็งติดกับเมล็ด ถัดมาด้านในสุดจะเป็นเมล็ดที่มีลักษณะรูปหัวใจ ซึ่งจะมีร่องเว้าตรงกลางของเมล็ด ขนาดกว้าง และยาวประมาณ 8-12 มิลลิเมตร
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก และเมล็ด
สรรพคุณ เดือย :
- ราก นำมามัดทำเป็นยาชงทาน เพราะมีสารพวก coixol ซึ่งใช้ขับพยาธิในเด็ก
- เมล็ด นำมาทำเป็นยาใช้บำบัดอาการหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ มีน้ำคั่งในปอด และถ้านำมาหมักจะได้แอลกอฮอล์ ซึ่งใช้ในโรคข้ออักเสบ แต่ถ้าคนที่ฟื้นไข้ใหม่ ๆ ก็นำเมล็ดมาชงซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่ามาก เป็นยาเย็น และขับปัสสาวะ