เตยหอม

เตยหอม

ชื่อสมุนไพร : เตยหอม
ชื่ออื่นๆ :
เตยหอมใหญ่(ภาคกลาง), เตยหอมเล็ก, ปาแนะวองิง(มลายู), หวานข้าวไหม้(เหนือ), ปาแนะ, ออริง(ใต้) ปาแนก๊อจี(ไทยมุสลิม), ปานหนัน(นราธิวาส-ปัตตานี), พั้งลั้ง(จีน)
ชื่อสามัญ : Fragrant pandan
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus amaryllifolius  Roxb.
ชื่อวงศ์ : PANDANACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ต้นเตยหอม เป็นพืชจำพวกต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก เจริญเติบโตลักษณะเป็นกอ มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ผิวดิน ลำต้นติดดิน ออกรากตามข้อของลำต้นได้เมื่อลำต้นยาวมากขึ้นใช้เป็นรากค้ำยัน
    เตยหอม
  • ใบเตยหอม เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกเตยหอม เป็นดอกช่อแบบ สแปดิก(spadix) ดอกย่อยแยกเพศและแยกต้น ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก
  • ฝัก/ผลเตยหอม ผลขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ไม่เกิดดอกและผล เป็นเตยเพศผู้

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ต้น, ราก, ใบสด

สรรพคุณ เตยหอม :

  • ราก และต้น รสจืดหอม แก้กษัย ไตพิการ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ พิษร้อน แก้ตานซางในเด็ก แก้ร้อนในกระหายน้ำ ใช้บำรุงหัวใจ ทำให้คอชุ่มชื่น แก้ขัดเบาพิการ ช่วยละลายก้อนนิ่วในไต แก้หนองใน แก้พิษโลหิต แก้กล้ามเนื้ออ่อนเพลีย
    นำรากและต้นมาต้มกับเนื้อไม้หรือใบไม้สัก กินน้ำช่วยแก้โรคเบาหวาน
  • ใบ รสเย็นหอม บำรุงหัวใจ ดับพิษไข้ ชูกำลัง แก้อาการเป็นไข้ ช่วยให้ร่างกายสดชื่น
    ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บหรือหลังจากการหายป่วย
    บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย แก้อาการท้องอืด
    แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ แก้อ่อนเพลีย
    ช่วยขับปัสสาวะ
    ดับพิษไข้ รักษาโรคหัด รักษาโรคสุกใส แก้โรคผิวหนัง
    ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ลดความดันเลือด ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ
    น้ำมันหอมระเหยช่วยแก้อาการหน้าท้องเกร็ง แก้ปวดตามข้อ และกระดูก
    ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดอาการปวดหัว แก้โรคลมชัก
    ลดอาการเจ็บคอ ลดอาการอักเสบในลำคอ
    เนื่องจากใบไม้มีกลิ่นหอมใช้ผสมอาหารหรือขนมให้มีสีเขียวและะมีกลิ่นหอม
Scroll to top