ชื่อสมุนไพร : เต่าเกียด
ชื่ออื่น ๆ : เต่าเขียด(ไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Homalomena aromatica (Spreng.) Schott
ชื่อวงศ์ : ARACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นเต่าเกียด เป็นไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดิน กลิ่นหอม ต้นขึ้นเป็นกอคล้ายพวกบอน ซึ่งเกิดจากหัวหรือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ส่วนที่โผล่ขึ้น มาเหนือดินนั้นเป็นเพียงก้านใบและใบเท่านั้น ซึ่งสูงประมาณ 16-36 นิ้ว
- ใบเต่าเกียด ลักษณะของใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ไม่มีจัก มีสีเขียวกว้างประมาณ 5-6 นิ้วยาว 4-8 นิ้ว มีก้านใบยาวซึ่งจะชูใบแตกขึ้นมาบนผิวดิน
- ดอกเต่าเกียด ออกเป็นช่อ แต่จะไม่มีก้านช่อดอกลักษณะของดอกจะคล้ายกับดอกบอน แต่มีขนาดเล็กกว่า ดอกสีเขียวอมเหลือง
- ผลเต่าเกียด เป็นผลสดเนื้อนุ่ม และมีขนาดเล็ก
ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัว, ทั้งต้น
สรรพคุณ เต่าเกียด :
- หัว รสขมเผ็ดร้อนฉุน ทำให้ประสาทหลอน ขับเสมหะ ใช้ปรุงเป็นยารับประทานแก้ตับทรุด ตับพิการ เป็นยาชักตับ บำรุงตับ แก้ไข้เซื่องซึม มีกลิ่นหอม เป็นยากระตุ้น
เมื่อนำมาบดเป็นผงใช้ผสมกับใบยาสูบ และยานัตถุ์ได้ ซึ่งหัวนี้จะมีกลิ่นหอม และเมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันหอมสีเหลือง จะมีฤทธิ์กระตุ้น (stimulant)
นอกจากนี้หัวยังใช้ผสมกับเครื่องเทศใส่แกงทำให้มีรสหอมอีกด้วย - ทั้งต้น รสร้อน นำมาตำแล้วใช้ทาแก้โรคผิวหนัง และเมื่อกลั่นโดยใช้ไอน้ำจะให้น้ำมันหอม ใช้ในการทำน้ำหอม
[su_quote]รักษาโรคผิวหนัง โดยใช้ต้นสดหนัก 10-20 กรัม ล้างให้สะอาด สับเป็นชิ้นแล้วนำมาโขลกให้ละเอียดผสมเหล้าโรงเล็กน้อย นำมาทาและพอกบริเวณที่เป็น เช้า-เย็น เป็นประจำ[/su_quote]