เทียนแกลบ

เทียนแกลบ

ชื่อสมุนไพร : เทียนแกลบ
ชื่ออื่นๆ
: เทียนหวาน, เตียนแกบ, ยี่หร่าหวาน, ฮุ่ยเซียง เสี่ยวหุยเซียง (จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Foeniculum vulgare Miller subsp. var. vulgare
ชื่อวงศ์ : Umbelliferae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเทียนแกลบ เป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี มีความสูงของต้นประมาณ 50-150 เซนติเมตร ลำต้นมีการแตกกิ่งก้านบริเวณปลายยอด กิ่งและก้านมีสีเทาอมเขียว ผิวมีร่องตามยาว
  • ใบเทียนแกลบ มีลักษณะเป็นเส้นฝอย แตกเป็นแฉกคล้ายขนนกประมาณ 3-4 แฉก มีก้านใบยาวประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร
  • ดอกเทียนแกลบ ออกดอกเป็นช่อคล้ายร่ม โดยจะออกที่ปลายกิ่ง ในช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 5-30 ดอก ก้านช่อดอกจะแตกออกเป็นก้านประมาณ 5-20 ก้าน ช่อดอกยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร ดอกเทียนข้าวเปลือกมีขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปกลมรี ยาวได้ประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้าน มีเกสรเพศเมีย 1 ก้าน
  • ผลเทียนแกลบ ออกผลเป็นคู่บริเวณดอก ผลมีลักษณะกลมยาวเป็นรูปไข่หรือเป็นรูปขอบขนานคล้ายข้าวเปลือก ด้านข้างของผลค่อนข้างแบน ผิวเรียบไม่มีขน เมล็ดหรือซีกผลมีลักษณะด้านนอกนูน ส่วนด้านในที่ประกบกันของเมล็ดหรือด้านแนวเชื่อมค่อนข้างแบนหรืออาจเว้าเล็กน้อย ด้านที่นูนจะมีสันตามแนวยาวของเมล็ด 3 เส้น และด้านแนวเชื่อมอีก 2 เส้น สันมีลักษณะยื่นนูนออกจากผิวอย่างเด่นชัด เมล็ดเป็นสีน้ำตาล มีขนาดกว้างประมาณ 1.1-2.5 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 3.6-8.4 มิลลิเมตร ผลมักจะไม่ค่อยแตกเป็น 2 ซีก ทำให้ดูคล้ายข้าวเปลือก แต่บางครั้งก็แตกเป็น 2 ซีก ซึ่งภายในแต่ละซีกจะมีเมล็ด 1 เมล็ด ทำให้เหมือนแกลม เมื่อนำมาบดเป็นผงสีน้ำตาลอมเหลืองถึงสีน้ำตาลอมเขียว โดยมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสหวานและเผ็ดร้อ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลแห้ง

สรรพคุณ เทียนแกลบ :

  • ผลแห้ง ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ขับผายลม ขับเสมหะ แก้ชีพจรอ่อนหรือพิการ แก้นอนสะดุ้ง แก้คลั่ง แก้เส้นศูนย์กลางท้องพิการ
    การใช้ตามเภสัชตำรับและการแพทย์แผนเดิม ใช้ขับลม อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร ลำไส้อักเสบในเด็ก ขับปัสสาวะ กระตุ้นความอยากอาหาร แก้ไอ ละลายเสมหะ และขับเสมหะ
Scroll to top