ชื่อสมุนไพร : เปล้าน้อย
ชื่ออื่นๆ : เปล้าท่าโพ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton stellatopilosus Ohba
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- เปล้าน้อย เป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่ม สูงประมาณ 1-4 เมตร เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบ มีสีน้ำตาลปนเทา แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น
- ใบเปล้าน้อย เป็นใบเดี่ยว แผ่นใบเรียบเป็นมัน สีเขียวเข้ม ออกเรียงสลับกัน ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ กลางใบกว้าง ขอบใบเป็นจักคล้ายซี่ฟันเล็กๆ ไม่สม่ำเสมอ ขนาดความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร ผิวใบมีขนสีสนิมเมื่อใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มและขนหายไป
- ดอกเปล้าน้อย ออกเป็นช่อขนาดเล็ก ออกบริเวณซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เป็นดอกแบบแยกเพศ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกมีสีขาวนวล ลักษณะเป็นเส้น มีประมาณ 10-15 กลีบ เมื่อดอกบานแล้วกลีบดอกจะโค้งไปทางด้านหลัง
- ผลเปล้าน้อย มีลักษณะเป็นทรงค่อนข้างกลม แบ่งออกเป็นพู 3 พู มีรอยกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ก้นผล เมื่อผลแห้ง เปลือกผลจะมีสีน้ำตาลและแตกได้ง่าย ในแต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่ภายใน 1 เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาล ผิวเรียบ ขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และมีลายเส้นสีขาวตามแนวยาวหนึ่งเส้น
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, ผล, เปลือก, แก่น, ราก
สรรพคุณ เปล้าน้อย :
- ใบ ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคกระเพาะ บำรุงโลหิตประจำเดือน อีกทั้งในใบยังมีสาร disterpene alcohol (CS-684 หรือ plaunotol) ซึ่งมีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อทำให้แผลหายเร็วขึ้น ลดการหลั่งกรดในกระเพราะอาหารช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารได้
- ใบและราก ช่วยแก้อาการคัน รักษามะเร็งเพลิง รักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน แก้พยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ไอเป็นโลหิตรักษาโรคท้องเสีย บำรุงธาตุ และใช้เป็นยาปฏิชีวนะ
- ดอก ช่วยขับพยาธิหรือฆ่าพยาธิได้
- ผล แก้โรคน้ำเหลืองเสีย
- เปลือก ช่วยย่อยอาหาร รักษาโรคท้องเสียบำรุงโลหิตประจำเดือน และบำรุงธาตุ
- แก่น ช่วยกระจายลม และขับโลหิต
[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : รักษาโรคผิวหนัง คัน กลากเกลื้อน” icon=”arrow”]
ใช้ใบ หรือรากสด ตำให้ละเอียด ใช้น้ำคั้นที่ออกมาทาบริเวณที่เป็น[/su_spoiler]