ชื่อสมุนไพร : เสมา
ชื่ออื่น : เสมาบ้าน, เสมาป่า, นิ้วมือผี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Opuntia elatior Mill.
ชื่อวงศ์ : CACTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นเสมา เป็นไม้พุ่มอวบน้ำ สูง 2-4 เมตร ลำต้นแบนหนา ด้านบนโค้ง ส่วนโคนต้นเรียวกลม มีหนามเป็นจุดๆ เมื่ออ่อนสีเขียว แก่เป็นสีน้ำตาล ยาว 8-20 เซนติเมตร กว้าง 8-12 เซนติเมตร สีเทาหรือสีเขียงเข้ม
- ใบเสมา ใบรูปทรงกระบอก ขนาดเล็ก ร่วงง่าย ยาวประมาณ 4มิลลิเมตร ออกรวมกับหนาม 2-8 อัน และขนปลายเงี่ยงเป็นกระจุกบริเวณที่เรียกว่า ขุมหนาม กระจายอยู่ทั่วกิ่ง หนามอาจจะยาวได้ 2-7 เซนติเมตร
- ดอกเสมา ดอกเดี่ยว ออกบริเวณสันขอบของกิ่ง สีแดงอมชมพู เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร ฐานรองดอกขนาดใหญ่ รูปไข่กลับ ปลายตัด กลีบรวมจำนวนหลายกลีบเรียงเป็นชั้น ๆ เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณูเป็นเส้นผอม สีชมพู รังไข่ใต้วงกลี
- ผลเสมา ทรงรีแกมรูปไข่กลับ ผลเมื่อสุกสีส้มหรือสีแดง ปลายตัด ภายในมีเนื้อฉ่ำน้ำ ผิวด้านนอกมีขุม เนื้อสีแดง เมล็ดโต
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ลูก, ต้น, ยาง
สรรพคุณ เสมา :
- ใบ รสเมาเย็น ตำพอกดับพิษร้อน แก้อักเสบ
- ลูก รสเมาเย็น แก้ไอกรน แก้หนองใน
- ต้น รสเมาเย็น แก้พิษงูกัด
- ยาง รสเฝื่อนเมา เป็นยาถ่าย
เป็นพืชที่ทนแล้ง มีหนามแหลมคม กระจายพันธุ์ด้วยเมล็ดก็ได้ แถมยังแตกหน่อได้อีก ขึ้นในพื้นที่แห้งแล้ง ขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติเป็นกลุ่มหนาแน่น บนพื้นที่แห้งแล้งมีดินปนทราย ใกล้ชายทะเล หรือหน้าผาหินบนภูเขาหินชนิดต่างๆ