เสือ
ชื่อสามัญว่า Tiger
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris
จัดอยู่ในวงศ์ Felidae
เป็นสัตว์วัตถุที่นำมาใช้ทำยา อยู่ในกลุ่ม “สัตว์บก” คือ สัตว์ที่อาศัยอยู่บนบก และหากินบนบก
ส่วนที่ใช้เป็นยา : กระดูก
สรรพคุณ เสือ :
- ใช้กระดูก สรรพคุณ บำรุงกระดูก เลือด เนื้อ ไข้ข้อ แก้ปวดเมื่อยหัวเข่า
แพทย์แผนไทยรู้จักใช้ส่วนต่างๆของเสือโคร่งเกือบทุกส่วนเป็นเครื่องยา ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเสือโคร่ง เขี้ยว กระดูก หนัง ดีเสื้อ เอ็นเสือ ตาเสือ ไตเสือ และเนื้อเสือ แต่ที่ใช้มากมี
- น้ำมันเสือ ตำราสรรพคุณยาโบราณว่า น้ำมันเสือมีรสเผ็ด ใช้ต้มผสมกับเหล้า กินแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ผมหงอกก่อนวัย ใน ตำราพระโอสถพระนารายณ์ มียาขนานหนึ่ง คือขนานที่ ๖๙ สีผึ้งบี้พระเส้น เข้า “น้ำมันเสือ” เป็นเครื่องยาด้วย
- เขี้ยวเสือ โบราณว่ามีรสเย็น มีสรรพคุณดับไข้พิษ ไข้กาฬ แก้พิษร้อน พิษอักเสบ พิษตานซาง เขี้ยวเสือเป็นเครื่องยาอย่างหนึ่งในพิกัดยาไทยที่เรียก “นวเขี้ยว” หรือ “เนาวเขี้ยว” ได้แก่ เขี้ยวหมูป่า เขี้ยวหมี เขี้ยวเสือ เขี้ยวแรด เขี้ยวหมาป่า เขี้ยวปลาพะยูน เขี้ยวจระเข้ เขี้ยวเลียงผา และงาช้าง
- กระดูกเสือ ตำรายาโบราณว่ามีรสเผ็ดคาว เป็นยาบำรุงกระดูก บำรุงไขข้อและเนื้อหนัง แก้ปวดบวมตามข้อ แก้โรคปวดข้อ เป็นยาระงับประสาท แก้โรคลมบ้าหมู แก้ปวดตามข้อ เข่า กระดูก บำรุงกระเพาะอาหาร ยาขนานหนึ่งใน พระคัมภีร์ไกษย ชื่อ “ยาเนาวหอย” เข้า “กระดูกเสือเผา” เป็นเครื่องยาด้วย