แก้วเจ้าจอม

แก้วเจ้าจอม

ชื่ออื่น : แก้วเจ้าจอม
ชื่อสามัญ
 : Lignum Vitae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Guaiacum officinale L.
ชื่อวงศ์ : ZYGOPHYLLACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • แก้วเจ้าจอม เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 3-12 เมตร มีลักษณะคดงอ เนื้อไม้แข็งมาก กิ่งก้านมีปุ่มปม เปลือกของต้นสีเทาเข้ม บางแห่งเปลือกแตก ต้นแตกใบเป็นพุ่มแผ่กว้างทรงกลม เรือนยอดทึบ


  • ใบแก้วเจ้าจอม ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ มีใบย่อย 2-3 คู่ และ 4 – 5 คู่ ใบประกอบยาว 1 – 1.5 เซนติเมตร ก้านประกอบยาว 0.5 – 1.0เซนติเมตร ใบย่อยไม่มีก้านใบมีจุดเล็กๆสีส้มที่โคนใบย่อยด้านบน รูปไข่กลับ หรือรูปรีเบี้ยวเล็กน้อยมี 4 ชนิด คือใบย่อย 2 คู่ , 3 คู่ , 4 คู่ และใบย่อย 5 คู่ ปลายใบมน ขอบเรียบ ใบย่อยคู่ปลายสุดมีขนาดใหญ่ ใบย่อยคู่ถัดลงมาเล็กไล่ขนาดลงไป เนื้อใบเหนียวและหนาเล็กน้อย ผิวของใบเป็นมันสีใบเขียวเข้ม


  • ดอกแก้วเจ้าจอม สีฟ้าอมม่วง ดอกเดี่ยวออกเป็นกระจุก ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ มีกลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้สีเหลืองประมาณ 8 – 10 เส้น ดอกแก่จะมีสีจางลงเมื่อใกล้โรยประมาณ 3 – 5 วัน มีกลิ่นหอม


  • ผลแก้วเจ้าจอม สีเหลือง รูปหัวใจกลับ มี 4 – 5 พู แต่ละพูมี 1 – 2 เมล็ดมีลักษณะรูปร่างกลมรี หรือรูปไข่ สีน้ำตาลเข้ม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ยางไม้, ใบ, เปลือก, เนื้อไม้, ดอก

สรรพคุณ แก้วเจ้าจอม :

  • ใช้รักษา รูมาติซัมเรื้อรัง โรคไขข้ออักเสบ ปวดประจำเดือน โรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคเก้าด์ ใช้เป็นยาตรวจครบเลือดในนิติเวชวิทยา เรียกว่า Gum Guaiacum แถบอเมริกาใต้ อินเดีย อินเดียตะวันตกและฟลอริดา
  • ยางไม้ ใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ซับเหงื่อ แก้ข้ออักเสบ หรือทำเป็นยาอมแก้หลอดลมอักเสบ
  • ใบ ใช้คั้นน้ำ กินแก้อาการท้องเฟ้อ
  • เนื้อไม้ ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ยาระบาย และเป็นยาฝาดสมาน
  • เปลือก เป็นยาระบาย
  • ดอก ทำผงชา เป็นยาบำรุงกำลัง
Scroll to top