แคแดง

แคแดง

ชื่อสมุนไพร : แคแดง
ชื่ออื่น ๆ
: แค, แคบ้านดอกแดง, แคแดง, แคแกง(ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania grandiflora (L.) Desv.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นแคแดง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามากไม่เป็นระเบียบ มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร เนื้อไม้อ่อน ที่เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาและมีรอยขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด
  • ใบแคแดง เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยขนาดเล็กรูปขอบขนาน ปลายใบมนกว้าง ขอบใบและแผ่นใบเรียบ ใบสีเขียว กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
  • ดอกแคแดง ลักษณะของดอกคล้ายดอกถั่ว ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบ 2-3 ดอก ดอกมีกลิ่นหอม ดอกเป็นสีแดง มีก้านเกสรตัวผู้สีขาวอยู่ 60 อัน กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังหรือรูปถ้วย
  • ผลแคแดง เป็นฝักกลมยาว กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ด
  • เมล็ดแคแดง ลักษณะกลมแป้น ทรงรูปลิ่ม จำนวนมาก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, เปลือก

สรรพคุณ แคแดง :

  • ใบ ช่วยในการแก้ไข้หวัดและถอนพิษไข้ ช่วยแก้ไข้เปลี่ยนฤดู ตลอดจนช่วยดับพิษ และถอนพิษ ให้รสจืดมัน
  • ดอก ช่วยแก้อาการไข้เปลี่ยนฤดู ให้รสหวานเย็น
  • เปลือกต้น ช่วยในการคุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด ตลอดจนช่วยชะล้างบาดแผล และช่วยในการสมานแผลทั้งภายในและภายนอกของร่างกาย ให้รสฝาด

***สำหรับต้นแคดอกแดงนั้นสามารถนำมารับประทานได้เหมือนแคดอกขาว โดยหลายๆ คนอาจสงสัยว่าสามารถรับประทานแคดอกแดงได้ด้วยหรือ ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถนำมารับประทานได้ เพียงแต่ไม่ค่อยนิยมเท่าเพราะไม่ค่อยพบแคดอกแดงมากเท่าแคดอกขาว มักรับประทานในเมนูอย่าง แกงส้มดอกแค หรือแกงเหลืองดอกแค เป็นต้น

Scroll to top