โกฐชฎามังสี

โกฐชฎามังสี

ชื่ออื่น : โกฐชฎามังสี, โกฐจุฬารส
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nardostachys grandiflora DC.
ชื่อวงศ์ : VALERIANACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นโกฐชฎามังสี จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นสูง 5-50 เซนติเมตร เป็นพืชที่ลงหัว มีเหง้าแข็งและมีก้านใบติดอยู่เป็นจำนวนมาก มีขนขึ้นปกคลุมในบริเวณลำต้นและใบ


  • ใบโกฐชฎามังสี มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม แผ่นใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ขอบใบเรียบ


  • ดอกโกฐชฎามังสี ออกดอกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีดอกย่อยออกเป็นกระจุกอยู่ที่ตรงส่วนปลาย ที่ใบประดับจะมีขนปกคลุมอยู่ ดอกย่อยมีสีชมพูอมม่วง ตรงโคนกลีบดอกจะเชื่อมกันเป็นหลอด


  • ผลโกฐชฎามังสี ผลยาวและมีขนสีขาวปกคลุม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : รากและเหง้าแห้ง

สรรพคุณ โกฐชฎามังสี :

  • รากและเหง้าแห้ง เป็นยากระจายหนองที่เป็นก้อนอยู่ในร่างกาย  ขับพยาธิออกจากร่างกาย  แก้ไส้ด้วนไส้ลาม คือแผลเนื้อร้ายกินแต่ปลายองคชาติเข้าไปและองค์กำเนิดบวม  ขับโลหิตระดูเน่าเสีย  ขับประจำเดือน แก้ดีพิการ ช่วยย่อยอาหาร แก้พิษทั้งปวง แก้แผลเนื้อร้าย แก้รัตตะปิตตะโรค  แก้โลหิตอันเกิดแต่กองปิตตะสมุฏฐาน  แก้โรคปากในคอ  ขับลม

 

Scroll to top