ชื่ออื่น : โกฐพุงปลา, กกส้มมอ, สมอ, มาแน่, สมออัพยา, หมากแน่ะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz. var chebula
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- โกฐพุงปลา คือก้อนแข็งปูดหรือปุ่มหูด (gall) อันเกิดจากต้นสมอไทย (เกิดจากใบและยอดอ่อนของสมอไทย) ซึ่งโกฐพุงปลามีลัษณะคล้ายกระเพาะปลาขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายถุงแบน กลวง ปากแคบคือมีคอคอดคล้ายมีขั้ว ก้นป่อง แบน ผิวสีน้ำตาลปนนวล บางตอนเรียบ บางตอนเป็นตะปุ่มตะป่ำ ส่วนที่เสมือนปลิ้นออกอาจมีสีแดงเรื่อ ผิวนอกย่น สีน้ำตาล ผิวในขรุขระสีดำ ความกว้างราว 1 -3 เซนติเมตร ขนาดความยาว 1.5-3 เซนติเมตร ความหนา 0.4-1.5 เซนติเมตร ปูด(gall) เป็นก้อนแข็งที่เกิดขึ้นจากส่วนของพืช เช่น ใบ กิ่ง ที่ถูกแมลงเจาะและหยอดไข่ลงไป แล้วสร้างสารขึ้นมาป้องกัน เมื่อปุ่มหูดนี้แห้งแข็งก็จะมีลักษณะคล้ายถุงแบนและกลวง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ก้อนแข็ง ปูด (gall) จากใบ และยอดอ่อนของสมอไทย
สรรพคุณ โกฐพุงปลา :
- เป็นยาฝาดสมาน แก้อุจจาระธาตุพิการ แก้อติสาร แก้บิดมูกเลือด คุมธาตุ แก้ไข้จากลำไส้อักเสบ แก้ไข้พิษ แก้พิษทำให้ร้อน แก้อาเจียน แก้เสมหะพิการ แก้เม็ดยอดภายใน สมานแผล แก้ฝีภายใน แก้โรคอุจจาระธาตุลงอติสาร ลงแดง