ชื่อสมุนไพร : ไกรทอง
ชื่ออื่นๆ : เข็ดมูล เจตมูล ไม้แก่นแดง (ปราจีนบุรี), ต๋านฮ้วนหด (เชียงใหม่), พิกุลทอง (ประจวบคีรีขันธ์), ต๋านฮ้วนเป็ด (เชียงใหม่), ไกรทอง (ปราจีนบุรี, นราธิวาส), หุนไห้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythroxylum cuneatum Kurz
ชื่อวงศ์ : ERYTHROXYLACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นไกรทอง เป็นไม้ต้น สูง 4-15 เมตร อาจสูงได้ถึง 30 เมตร เปลือกสีน้ำตาล แตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาว เปลือกในสีเหลืองถึงน้ำตาลอมแดง กระพี้สีเหลือง แก่นสีแดงถึงน้ำตาลอมแดง กิ่งมักตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนค่อนข้างแบน มีรอยแผลหูใบรอบกิ่ง หูใบรูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร ร่วงง่าย
- ใบไกรทอง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ รูปรี หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 3-11 เซนติเมตร ปลายมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีเขียวอ่อนและมีนวลเล็กน้อย เส้นใบเห็นได้ชัดทางด้านล่าง เส้นแขนงใบข้างละ 7-10 เส้น ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห ก้านใบยาว 2-7 มิลลิเมตร
- ดอกไกรทอง ดอกเล็ก ออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกระจุกตามง่ามใบ กระจุกละ 2-8 ดอก สีขาวหรือขาวอมเขียว ใบประดับ 2 ใบ รูปสามเหลี่ยม ขนาดเล็กมาก ก้านดอกยาว 0.5-1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนติดกันเป็นรูประฆัง ยาว 2 มิลลิเมตร กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาว 3-4 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ 10 อัน โคนติดกันเป็นหลอดยาว 1-2 มิลลิเมตร รังไข่มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด แต่เจริญเพียง 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมีย 3 อัน
- ผลไกรทอง เมล็ดแข็ง รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-6 มิลลิเมตร ยาว 0.7-1.2 เซนติเมตร มี 3 พู และยังคงเหลือกลีบติดอยู่ที่ขั้วผล ผลแก่สีแดงสดเป็นมัน มี 1 เมล็ดเมล็ดแบนโค้ง กว้าง 1-3 มิลลิเมตร
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น
สรรพคุณ ไกรทอง :
- เปลือกต้น แก้เส้นเอ็นพิการ ปวดเมื่อย เหน็บชา ชาตามปลายมือปลายเท้า บำรุงร่างกาย