ชื่อสมุนไพร : ไครเครือ
ชื่ออื่น ๆ : ไคเครือ , ไคเคือ, รังไคร้เครือ (ไทย )
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aristolochia sp.
วงศ์ : OLEACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นไคร้เครือ เป็นพรรณไม้เถา ขนาดเล็ก ชนิดลงรากใหญ่ เป็นพรรณไม้ที่เกิดขึ้นตามป่าชื้นและป่าโปร่งทั่ว ๆไป ถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคเหนือและภาค ตะวันออก และคงมีบ้างทางภาคอื่นอีกด้วย
- ใบไคร้เครือ เป็นใบเดี่ยว รูปหัวใจ ปลายแหลม โคนเว้า หลังใบมีขนนุ่ม ท้องใบมีขนห่างมีต่อมเป็นจุดกระจายอยู่ทั่วไป ก้านใบด้านบนเป็นร่อง มีขนตามแนวด้านข้าง
- ดอกไคร้เครือ ดอกช่อขนาดใหญ่ ดอกสีน้ำตาลอมม่วง
-
ผลไคร้เครือ มีลักษณะเป็นผลแห้งแตก เมล็ด มีลักษณะรูปหัวใจ มีปีก
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก
สรรพคุณ ไคร้เครือ :
- รากไคร้เครือ จะมีรสขมขื่นปร่า ใช้รักษาอาการเป็นไข้จับสั่น แก้ไข้ ไข้คลั่งเพ้อ รักษาโรคพิษไข้ พิษกาฬ ขับเหงื่อ ไข้เชื่อมซึม พิษกาฬ เป็นยาชูกำลังและเป็นยาเจริญอาหาร
ข้อมูลเพิ่มเติม :
เมื่อปี 2545 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้พืชสกุล Aristolochia เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ เนื่องจากในหลายประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส โอมาน และสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศระงับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรที่มี aristolochic acid ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายโดยทำให้เกิดไตวายและเป็นมะเร็งทางเดินปัสสาวะ ดังนั้น คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติจึงได้มีประกาศตัดสมุนไพรไคร้เครือ ซึ่งเป็นเครื่องยาสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ใช้กันมากในตำรับยาไทย โดยเฉพาะตำรับยาแก้ไข้ แก้อักเสบ และคลายกล้ามเนื้อ ออกจากตำรับยาแผนไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2554 จำนวน 10 ตำรับ จาก 28 ตำรับ ได้แก่ ยาหอมนวโกฐ ยาหอมแก้ลมวิงเวียน ยาหอมอินทจักร์ ยาธาตุบรรจบ ยาประสะการพลู ยาประสะเจตพังคี ยามัมทธาตุ ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาเขียวหอม ยาอำมฤควาที เนื่องจากมีข้อมูลงานวิจัยบ่งชี้ว่าไคร้เครือที่ใช้และมีการจำหน่ายในท้องตลาด เป็นพืชในสกุล Aristolochia