ชื่อสมุนไพร : ไมยราบ
ชื่ออื่นๆ : กระทืบยอด, หญ้าปันยอด, หนามหญ้าราบ, กะหงับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimosa pudica L.
ชื่อวงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE–MIMOSOIDEAE)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นไมยราบ เป็นไม้ล้มลุกแผ่คลุมพื้นดิน สูงได้ถึง 1 เมตร
- ใบไมยราบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบย่อยชั้นแรก 2 หรือ 4 คู่ ยาว 2.5-6 ซม. ใบย่อยชั้นรอง 12-25 คู่ รูปขอบขนานโค้ง กว้าง 1.3-2 มม. ยาว 5-11 มม.
- ดอกไมยราบ สีม่วงแกมชมพู ออกเป็นช่อกลมที่ซอกใบ ขนาดประมาณ 1 ซม. ก้านช่อดอกยาว 2.5-3.8 ซม. กลีบรองดอก เล็กมาก กลีบดอกคล้ายเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4 กลีบ ยาว 1.9-2.3 มม. เกสรผู้ 4 อัน รังไข่เกลี้ยง
- ผลไมยราบ เป็นฝักแบนรูปขอบขนาน ออกติดกันเป็นกระจุกกลม มีข้อปล้องชัดเจน ตะเข็บข้าง มีขนแข็ง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ใบ, ราก
สรรพคุณ ไมยราบ :
- ทั้งต้น มีรสขมเฝื่อนเล็กน้อย เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ แก้กระษัย ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ แก้ตานขโมย แก้หัด แก้ผื่นคันตามตัว แก้แผลฝี ขับน้ำนม บำรุงน้ำนม หรือนำมาผสมกับรากสะเดาดินและไมยราบเครือทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ
- ใบ ใช้รักษาโรคเอดส์
- ราก มีรสเฝื่อนแก้บิด ขับปัสสาวะ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ปวดข้อ แก้กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ระงับประสาท ทำให้ตาสว่าง