ผักหนาม

ผักหนาม

ชื่อสมุนไพร : ผักหนาม
ชื่ออื่นๆ
: กะลี (มลายู, นราธิวาส), บอนหนาม (ไทลื้อ, ขมุ), ผะตู่โปล่ เฮาะตู่คุ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lasia spinosa (L.) Thwaites.
ชื่อวงศ์ : Araceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : 

  • ผักหนาม เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเป็นเหง้าแข็งอยู่ใต้ดินทอดเลื้อย ทอดขนานกับพื้นดิน ตั้งตรงและโค้งลงเล็กน้อย ชูยอดขึ้น มีหนามแหลมตามลำต้น ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร ยาวได้ถึง 75 เซนติเมตร
    ผักหนาม
  • ใบผักหนาม เป็นเดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวลูกศร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก รอยเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ผักหนามใบกว้างมากกว่า 25 เซนติเมตร ยาว 30-40 เซนติเมตร มีหนามตามเส้นใบด้านล่าง ขอบใบเรียบหรือหยักเว้าลึก 9 พู ใบอ่อนม้วนเป็นแท่งกลม ปลายแหลม ก้านใบรูปทรงกระบอก ยาว แข็ง ยาว 40-120 เซนติเมตร มีหนามแหลมตามก้านใบและเส้นกลางใบ

 

  • ดอกผักหนาม ออกเป็นช่อเชิงลด ทรงกระบอก เป็นแท่งยาวเท่าๆกับใบ ประมาณ 4 เซนติเมตร แทงออกมาผักหนามจากกาบใบ ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 75 เซนติเมตรและมีหนาม มีดอกย่อยอัดกันแน่นเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ใบประดับเป็นกาบสีน้ำตาลแกมเขียวถึงสีม่วง กาบหุ้มม้วนบิดเป็นเกลียวตามความยาวของกาบ ยาวได้ถึง 55 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อดอกแบบแท่งสแพดิก (spadix) ช่อดอกสีน้ำตาล ดอกตัวผู้อยู่ตอนบนและมีจำนวนมาก ดอกตัวเมียอยู่ตอนล่างและมีจำนวนน้อยกว่า
  • ผลผักหนาม ผลเรียงชิดกันแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก ผลสด หนาและเหนียว ผลอ่อนสีเขียวมีเนื้อนุ่ม ผลผลผักหนามแก่สีเหลืองแกมแดง

 

 

 

 

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ลำต้น, ราก, ใบ, เหง้า, ทั้งต้น

สรรพคุณ ผักหนาม :

  • ลำต้น  ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ ต้มน้ำอาบแก้คันเนื่องจากพิษหัดเหือด และไข้ออกผื่น สุกใส ดำแดง และใช้ถอนพิษ
  • ใบ  แก้ปวดท้อง แก้ไอ
  • ราก  ต้มน้ำให้เด็กแรกเกิดอาบ แก้เจ็บคอ
  • รากและใบ  ใช้ขับเสมหะ
  • เหง้า เป็นยาขับเสมหะ แก้ไอ ต้มน้ำอาบแก้คันเนื่องจากพิษหัด เหือด สุกใส ดำแดง และโรคผิวหนัง
  • ทั้งต้น แก้ปัสสาวะพิการ
Scroll to top