ผักปลาบใบแคบ

ผักปลาบใบแคบ

ชื่อสมุนไพร : ผักปลาบใบแคบ
ชื่ออื่น ๆ
: ผักปลายขอบใบเรียว(เชียงใหม่), ผักปลาบ(ภาคกลาง), ด่อเบล่ร่อด, ด่อเบล่บรู้(ปะหล่อง), โต่ะอูเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), ผักปลาบนา, หญ้ากาบผี, กินกุ้งน้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Commelina diffusa Burm. f.
ชื่อวงศ์ COMMELINACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นผักปลาบใบแคบ เป็นพืชล้มลุก ทอดเลื้อยบนดินหรือริมชายน้ำ อายุปีเดียว ลำต้นกลม สีเขียว ยาวได้ถึง 40 ซม. มีรากออกตามข้อ
    ผักปลาบใบแคบ
  • ใบผักปลาบใบแคบ เป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 1 – 2 ซม. ยาว 4 – 7.5 ซม. โคนก้านใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ขอบด้านบนมีขน
  • ดอกผักปลาบใบแคบ สีน้ำเงินฟ้า ออกเป็นช่อตามซอกใบ ยาว 2.5 – 3 ซม.มีใบประดับรองรับสีเขียวอ่อนรูปเรือกว้าง 1 ซม. ยาว 4.5 ซม. ดอกย่อยขนาดผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 3 กลีบ เกสรเพศผู้ 6 อัน เป็นหมัน 3 อัน รูปร่างต่างกัน ปลายเกสรเพศเมียสีส้ม ก้านชูเรียวเกลี้ยง ยาวประมาณ 0.5 ซม.
  • ผลผักปลาบใบแคบ แก่แล้วแตกตามรอยตะเข็บ รูปไข่ปลายแหลมยาว 0.5 ซม. เมล็ด ค่อนข้างกลมผิวเรียบ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ใบ, ต้น

สรรพคุณ ผักปลาบใบแคบ :

  • ทั้งต้น เป็นยาช่วยเจริญอาหาร แก้โรคเรื้อน แก้อาการระคายเคืองผิวหนัง ช่วยบรรเทาอาการปวด
  • ใบ, ต้น เป็นยาแก้อาการหูอื้อ ปวดหู นำมาตำคั้นเอาน้ำทาแก้โรคผิวหนังผื่นคัน หูด ทารักษาแผลสด แผลถลอก และใช้เป็นยาห้ามเลือด
Scroll to top