ชื่อสมุนไพร : ผักโขมจีน
ชื่ออื่นๆ : ผักโขมสวน, ผักขมสี, ผักขมจีน
ชื่อสามัญ : Chinese Spinach
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus dubius
ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นผักโขมจีน เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 1.30 เมตร ส่วนยอดมีขนสั้นปกคลุม สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
- ใบผักโขมสวน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรีถึงรูปไข่ ใบมีความกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ปลายใบมน ส่วนโคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย และใบที่ส่วนของปลายยอดจะมีอยู่หลายสีขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เช่น สีแดงสด สีม่วงแดง สีเหลืองทอง
- ดอกผักโขมสวน ออกดอกเป็นช่อเชิงลดที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีเขียวอ่อนหรือสีแดง ช่อดอกมีขนาดประมาณ 4-25 มิลลิเมตร
- ผลผักโขมสวน ผลแห้งแก่ไม่แตก ภายในผลมีเมล็ดสีดำขนาดเล็ก จำนวนมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ราก, ใบสด
สรรพคุณ ผักโขมจีน :
- ทั้งต้น รสขมเฝื่อนเย็น ดับพิษทั้งภายนอกและภายใน แก้บิดมูกเเลือด ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร แก้ผดผื่นคัน บวม แก้รำมะนาด รักษาฝี แผลพุพอง ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงผิว ช่วยชะลอวัย ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง ช่วยบำรุงสมอง ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย แก้อาการบิด ลดอาการแน่นท้อง ช่วยขับถ่าย แก้อาการปวดท้องประจำเดือน รักษากลากเกลื้อน แก้อาการช้ำใน ลดความอ้วน บำรุงครรภ์ ช่วยบำรุงน้ำนม
- ราก ช่วยลดไข้ ช่วยขับปัสสาวะ
- ใบสด ช่วยรักษาแผลสด
ประโยชน์ทางอาหาร
- ยอดอ่อน ใบอ่อน ต้นอ่อน นำมาต้ม ลวกหรือนึ่งให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก เช่น น้ำพริกปลาร้า ปลาจ่อม กะปิ ปลาทู และน้ำพริกอีกหลายชนิด หรือนึ่งพร้อมกับปลา ทำผัดผักกับเนื้อสัตว์ นำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงเลียง ชาวไทยอีสาน จังหวัดศรีสะเกษ บอกว่ากินใบผักโขมเป็นอาหาร เป็นยาชูกำลัง ทำให้สุขภาพดี
โทษของผักโขม
- สำหรับการรับประทานผักโขม มีข้อควรระวัง เนื่องจากในผักโขมสดมีสารออกซาเลต ( Oxalate ) สูง ซึ่งเป็นสารที่ทำให้กิดนิ่ว และ ทำให้เกิดข้ออักเสบ โรคเกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ การรับประทานผักโขมควรทำให้สุกก่อน เพื่อให้สารออกซาเลตลดปริมาณลง