ชื่อสมุนไพร : ประดู่บ้าน
ชื่ออื่น ๆ : ประดู่, ประดู่ไทย, ดู่
ชื่อสามัญ : Burma Padauk, Narra
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus indicus Willd.
วงศ์ : PAPILIONACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ใบประดู่ ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยเรียงตัวแบบสลับจำนวน 7-13 ใบ ใบย่อยรูปไข่ รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 4-13 ซม. โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลมหรือ oblique ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนก้านใบมีหูใบ 2 อันเป็นเส้นยาว ผิวใบมีขนสั้นๆ ปกคลุมด้านท้องใบมากกว่าด้านหลังใบ ก้านใบอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย
- ดอกประดู่ ดอกช่อแบบช่อกระจะ ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง โคนก้านมีใบประดับ 1-2 อัน รูปรี กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันเป็นถ้วยสีเขียว ปลายแยกเป็น 2 แฉกอันบนจาก 2 กลีบติดกัน อันล่างจาก 3 กลีบติดกัน กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง แกมแสด ลักษณะกลีบเป็นรูปผีเสื้อ (papilionaceous) เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็น 2-3 กลุ่ม เกสรเพศเมีย 1 อัน
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, เปลือก, แก่น, ผล
สรรพคุณ ประดู่บ้าน :
- ใบ รสฝาด ใช้สระผม พอก ฝี พอกแผล แก้ผดผื่นคัน
- เปลือก รสฝาดจัด สมานบาดแผล แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย ทำสีย้อมผ้า
- แก่น รสขมฝาดร้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ เลือดกำเดาไหล แก้ไข้ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ผื่นคัน
- ผล แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง มีรสฝาดสมาน