ชื่อสมุนไพร : ถอบแถบน้ำ
ชื่ออื่น ๆ : ถอบแถบน้ำ, ทับแถบ, ถอบแทบทะเล, แควบทะเล, ถอบแถบทะเล, ผักแถบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris trifoliata Lour.
ชื่อวงศ์ : CONNARACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นถอบแถบน้ำ เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ ลำต้นมักทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ประมาณ 5-10 เมตร กิ่งเรียวยาว มักขึ้นตามฝั่งแม่น้ำและพื้นที่พรุใกล้กับทะเล
- ใบถอบแถบน้ำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงเวยีน มีใบย่อยประมาณ 1-2 คู่ และที่ปลายอีก 1 ใบ ก้านใบยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ส่วนก้านใบย่อยมีขนาดสั้น ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบทู่ถึงมนกลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีเส้นใบประมาณ 8-10 คู่
- ดอกถอบแถบน้ำ ออกดอกเป็นช่อเดี่ยวตามง่ามใบ ช่อดอกยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกเป็นสีขาวก่อน และจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน
- ผลถอบแถบน้ำ ออกผลเป็นฝักเบี้ยว ลักษณะของฝักเป็นรูปขอบขนาน ขอบฝักเป็นสันบางแคบๆ สันฝักด้านบนกว้างด้านล่างสองเท่า ฝักมีขนาดประมาณ 3 x 3.5 เซนติเมตร ฝักเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีเหลือง มีเมล็ดเดี่ยว เมล็ดมีลักษณะแบนเป็นรูปไต มีขนาดยาวประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, เถา, ทั้งต้น, ใบ
สรรพคุณ ถอบแถบน้ำ :
- ราก ใช้เป็นยาแก้พิษตานซาง ขับเสมหะ ถ่ายเสมหะ ช่วยขับผายลม ทำให้ถ่ายอุจจาระ แก้อาการปวดกระดูก
- เถา ใช้เป็นยาแก้ตานขโมย ถอนพิษสำแดง
- ทั้งต้น ช่วยระบายพิษไข้ ขับพยาธิ แก้อาการเกร็ง
- เถาและ ใบ เป็นยาขับลม
- รากและเปลือกต้น เป็นยาแก้ปวดข้อ
- เถา ราก ใบ และทั้งต้น เป็นยาระบาย
[su_quote]ใช้เป็นยาฆ่าแมลง อ้างอิงในหนังสือพรรณไม้ในสวนหลวง ร.9 เล่มที่ 2 ได้ระบุว่า ที่หมู่เกาะโซโลมอน จะใช้รากแห้งเป็นยาเบื่อปลา ตำรับยาพื้นบ้านอินเดียจะใช้ทั้งต้นแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาคลายกล้ามเนื้อปวดเกร็ง เถามีลักษณะเหนียวสามารถนำมาใช้แทนเชือกได้ และยังสามารถนำใบแก่จัดมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำแชมพูสมุนไพรกำจัดเหาได้อีกด้วย[/su_quote]