ชื่อสมุนไพร : ตีนเป็ดทราย
ชื่ออื่นๆ : ตีนเป็ดเล็ก(ภาคกลาง), เทียนหนู, เนียนหนู(สตูล), ปงปง(พังงา), ปากเป็ด, มะตากอ(มลายู-นราธิวาส), รักขาว(จันทบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cerbera manghas L.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นตีนเป็ดทราย เป็นไม้ต้น สูง 5-15 เมตร ลำต้น เรือนยอดกลม เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว
- ใบตีนเป็ดทราย เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มเป็นมัน เรียงสลับ ออกรวมกันเป็นกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ
- ดอกตีนเป็ดทราย สีขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ใจกลางดอกสีแดงอมชมพู กลีบดอกเมื่อตูมจะซ้อนกันเวียนเป็นเกลียว รูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า ปลายด้านหนึ่งจะยาวและแหลมกว่าอีกด้านหนึ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน 2 กลีบด้านนอกใหญ่กว่า 3 กลีบด้านใน ออกดอกตลอดปี
- ผลตีนเป็ดทราย รูปกลม สีเขียว ผิวเรียบ เมื่อแก่มีสีแดง เป็นมัน เมล็ดแข็งน้ำหนักเบา
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, เมล็ด, เปลือกต้น, ยาง, ผลสด, ดอก
สรรพคุณ ตีนเป็ดทราย :
- ใบ ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ทำให้อาเจียน และเป็นยาถ่าย เป็นยาขับพยาธิ
- เมล็ด ใช้ระงับปวดโดยทำให้หลับ (narcotic) ใช้เบื่อปลา เนื้อในเมล็ด ทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายทำให้แท้งได้ ในฟิลิปปินส์ ใช้เบื่อปลา น้ำมันจากเมล็ด ทาแก้คัน เป็นยาถูนวดให้ร้อนแดง เป็นยาฆ่าแมลง ในชวาใช้ทาแก้หวัด
- เปลือกต้น แก้ไข้ ขับนิ่ว เป็นยาถ่าย เป็นยาแก้โรคนิ่ว แก้ไข้ ทำให้อาเจียน
- ยางจากต้น เข้าตาจะทำให้ตาบอดทำให้อาเจียนและเป็นยาถ่าย
- ผลสด ในมาเลเซีย ใช้ขยี้ทารักษาโรคปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เนื้อของผล ทำให้อาเจียน ท้องเดิน ถ้ากินเข้าไปมากอาจตาย
- ดอก แก้ริดสีดวงทวาร
[su_quote cite=”The Description”]ใบและผลมีสารที่เป็นพิษต่อหัวใจ คือ cerberin ซึ่งจะเป็นพิษมากเมื่อถูกย่อย ในอดีตเคยใช้ยางของพืชชนิดนี้เป็นยาพิษเพื่อล่าสัตว์ เนื่องจากพืชในสกุลนี้เป็นพิษ ชื่อสกุลจึงมาจาก Cerberus สุนัขในนรกของเทพนิยายกรีก ในมาดากัสการ์ ใช้เมล็ดของพืชชนิดนี้เป็นยาพิษ[/su_quote]
[su_quote cite=”The Description”]ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด ระหว่างตีนเป็ดทรายและตีนเป็ดน้ำ(ตีนเป็ดทะเล) คือ ใจกลางดอกตีนเป็ดทรายมีสีแดงอมชมพู ในขณะที่ใจกลางดอกตีนเป็ดน้ำมีสีเหลือง และผลตีนเป็ดน้ำมีขนาดใหญ่กว่าตีนเป็ดทราย[/su_quote]