ตับเต่าใหญ่

ตับเต่าใหญ่ (ตับเต่าต้น)

ชื่อสมุนไพร : ตับเต่าใหญ่
ชื่ออื่นๆ :
ตับเต่าต้น, ตับเต่า (คนเมือง), มะไฟผี (เชียงราย), มะโกป่า (แพร่), ชิ้นกวาง, เรื้อนกวาง, ลิ้นกวาง (ปราจีนบุรี), ตับเต่าหลวง, มะพลับดง (ราชบุรี), มะมัง (นครราชสีมา), เฮื้อนกวาง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกฉียงเหนือ), กากะเลา, มาเมี้ยง และ แฮดกวาง (ภาคตะวันออกฉียงเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros ehretioides Wall. ex G.Don
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นตับเต่าใหญ่ เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร เปลือกสีน้ำตาลปนเทา
  • ใบตับเต่าใหญ่ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน แผ่นใบแผ่รูปขอบขนาน หรือมน กว้าง 7-23 ซม. ยาว 10-23 ซม. โคนใบกลมขอบใบเรียบ เนื้อใบเกลี้ยงและหนา ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม.
  • ดอกตับเต่าใหญ่ มีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้อยู่รวมกันเป็นช่อเล็กๆ ตามกิ่งเหนือง่ามใบ ช่อหนึ่ง มักมี 3 ดอก โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 3-4 มม. เกสรผู้มี 20-30 อัน ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยวๆหรือเป็นช่อสั้น ช่อละ 3-5 ดอก ก้านดอกยาว 1 ซม. ลักษณะเหมือนดอกเพศผู้แต่ใหญ่กว่า รังไข่รูปป้อมมีขนเป็นเส้นไหม
  • ผลตับเต่าใหญ่ รูปป้อมกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. ส่วนบนมีกลีบรองดอกติดอยู่ชัดเจน ผลแก่แห้งเป็นสีดำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อไม้, ราก

สรรพคุณ ตับเต่าใหญ่ :

  • ต้น สามารถนำเนื้อไม้มาใช้สร้างบ้าน ใช้ทำเครื่องมือขนาดเล็กได้
  • กิ่ง ใช้สำหรับทำฟืน
  • ใบ ยารักษาโรคมะเร็งในตับ
  • ผล นำมาตำผสมกับน้ำใช้เป็นยาเบื่อปลา
  • กิ่งสด นำมาทุบใช้สีฟันทำให้เหงือกและฟันทน
  • เนื้อไม้และเปลือก ใช้ทำเยื่อกระดาษ เป็นยารักษาโรครำมะนาด ยาแก้ผิดสำแดง ยาแก้ท้องร่วง ยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ยารักษาโรคมะเร็งในตับ
  • ราก เป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน แก้พิษไข้ แก้พิษทั้งปวง ยาแก้วัณโรค ยาบำรุงปอด ยาแก้อาเจียนเป็นเลือดและถ่ายเป็นเลือด ยารักษาแผลเรื้อรัง
  • แก่น เป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน แก้พิษไข้ แก้พิษทั้งปวง ยาแก้วัณโรค ยาบำรุงปอด ยาบำรุงเลือด
Scroll to top