ตังตาบอด

ตังตาบอด

ชื่อสมุนไพร : ตังตาบอด
ชื่ออื่น :
 ไฟเดือนห้า, ยางร้อน, ตาตุ่มป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Excoecaria oppositifolia Griff.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นตังตาบอด เป็นไม้ต้นสูงได้ถึง 15 เมตร ค่อนข้างตั้งตรง เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้มค่อนข้างเรียบ หรืออาจแตกเป็นสะเก็ด เปลือกภายในมีสีชมพูเรื่อๆ และมีน้ำยางสีขาว ไม่ค่อยมีการผลัดใบ แตกกิ่งก้านสาขาเป็นทรงพุ่มกลมแน่นทึบ เนื้อไม้ภายในมีความแข็งแรงทนทาน
  • ใบตังตาบอด ใบเดี่ยว เรียงสลับตรงข้ามกันเป็นคู่ที่ปลายยอด ลักษณะใบเป็นรูปทรงรีแกมขอบขนาน แผ่นใบเรียบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักถี่แบบฟันเลื่อย
  • ดอกตังตาบอด ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ลักษณะของช่อเป็นพวงคล้ายหางกระรอก ซึ่งประกอบไปด้วยดอกย่อยสีเขียวอ่อนขนาดเล็กจำนวนมาก ไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่แยกกันคนละดอก มักเริ่มให้ดอกในช่วงหน้าฝน หรือประมาณเดือนมกราคม-พฤษภาคม
  • ผลตังตาบอด มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือทรงรี แบ่งออกเป็น 3 พู ปลายผลเป็นติ่งแหลม ผิวผลเรียบ มีสีเขียวอมแดง ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก

สรรพคุณ ตังตาบอด :

  • ราก  รสร้อน เป็นยาขับโลหิต เข้ายาแก้มะเร็ง

[su_quote cite=”The Description”]ข้อควรระวัง : ในน้ำยางของพืชชนิดนี้ ให้รสร้อนเมามีความเป็นพิษ หากสัมผัสกับผิวหนังจะทำให้เกิดอาการอักเสบและบวมแดง เมื่อกระเด็นเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้[/su_quote]

ใบของ   ต้นตังตาบอด มีสารทำให้ระคายเคือง คือ Excoecaria factor O1 ซึ่งเป็นเอสเตอร์ของ 5beta-hydroxyresiniferonol-6alpha 7alpha-epoxide นอกจากนี้ยางจากต้นนี้ ยังประกอบด้วย Excoecaria factor O2 และ O3
วิธีการรักษา เมื่อถูกพิษยังไม่มีการรักษาโดยตรง ใช้วิธีการรักษาตามอาการ หากถูกยางที่ผิวหนังให้ล้างยางออกด้วยสบู่และน้ำสะอาด และทาด้วยครีมสเตียรอยด์ แต่หากเข้าตาควรล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งทันที และควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป
ข้อมูลจาก สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

หากพบต้นไม้นี้ อย่าพยายามเข้าใกล้เพราะทุกส่วนของต้นนี้มีน้ำยางสีขาวที่เป็นพิษต่อผิวหนัง พบมากตามป่าดิบแล้งหรือแนวขอบทางเดินตามป่าต่างๆ

Scroll to top