ตะแบกเลือด

ตะแบกเลือด

ชื่อสมุนไพร : ตะแบกเลือด
ชื่ออื่นๆ :
โคะกาง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ปราบตำเลีย (เขมร-บุรีรัมย์), เปีย (อุบลราชธานี) เปื๋อย, เปื๋อยปั่ง, เปื๋อยปี, เปื๋อยสะแอน (ภาคเหนือ), มะกาเถื่อน (เงี้ยว-ภาคเหนือ), มะเกลือเลือด (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia corticosa Pierre ex Laness.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นตะแบกเลือด เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่สูงถึง 35 เมตร ลำต้นเปลาตรง ส่วนโคนต้นขรุขระเป็นสะเก็ด ส่วนบนเรียบเป็นหลุมตื้นๆ
  • ใบตะแบกเลือด ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม มักเรียงชิดกันเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 6-8 เซนติเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่งหนามหรือเรียวแหลม ฐานใบสอบเรียวหรือมน ขอบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายหนัง มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ปลายก้านมีต่อม 1 คู่
  • ดอกตะแบกเลือด ช่อดอกคล้ายช่อเชิงลด ออกที่ซอกใบ ช่อยาว 10-12 เซนติเมตร แกนกลางมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลแดง ใบประดับรูปแถบแกมรูปใบหอก ร่วงง่าย ยาว 1-2 มิลลิเมตร มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ดอกมีขนนุ่ม กลีบเลี้ยงกว้าง 1.5 มิลลิเมตร ยาว 2 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ยาว 3-4 มิลลิเมตร รังไข่รูปรี ยาว 2-3 มิลลิเมตร
  • ผลตะแบกเลือด ผลแห้ง มีปีก 2 อัน ผลรวมปีกรูปเกือบกลม ปลายมักเว้า ปีกหนาคล้ายหนัง มีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลหนาแน่น เมล็ด 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น, เนื้อไม้, แก่น

สรรพคุณ ตะแบกเลือด :

  • เปลือกต้น รสฝาด แก้บิดมูกเลือด แก้ท้องร่วง แก้ลงท้อง แก้ปวดท้อง ปิดธาตุ สมานแผล แก้อุจจาระธาตุพิการ
  • เนื้อไม้และแก่น รสขมปร่า แก้โรคโลหิตจาง ขับระดู แก้กระษัย บำรุงกำลัง แก้ธาตุพิการ
Scroll to top