ชื่อสมุนไพร : ชำมะนาด
ชื่ออื่นๆ : ชำมะนาดกลาง, ชมมะนาด, ดอกข้าวใหม่, อ้มส้าย, ชำปะนาด, หางเม้นเครือ, หญ้าช้างย้อย, อุ่มฟูม
ชื่อสามัญ : Bread flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vallaris glabra Ktze.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นชำมะนาด เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นแข็งสีเขียวคล้ำตกกระ มีน้ำยางขาว
- ใบชำมะนาด เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร
- ดอกชำมะนาด ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมากคล้ายรูประฆังคว่ำ กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีเขียวอ่อนเชื่อมติดกัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1-2 ซม. มีกลิ่นหอมคล้ายข้าวใหม่ผสมใบเตย บาน 1-2 วันแล้วร่วง ออกดอกในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. ดอกดกช่วงเดือน เม.ย.
- ผลชำมะนาด ผลสดมีเนื้อนิ่ม เมื่อแก่แตกออก เมล็ดขนาดเล็ก มีขนปุยที่ปลายช่วยให้ปลิวไปตามลม
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ยาง, ดอก
สรรพคุณ ชำมะนาด :
- ยาง รสร้อนเมา ใส่แผลสด ช่วยสมานแผลและห้ามเลือด
- ดอก รสเมาเบื่อร้อน ช่วยถ่ายน้ำเหลือง ทำให้อาเจียน มีฤทธิ์ถ่ายแรงมาก เป็นยาอันตราย
เอกสารอ้างอิง
- วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. 2542. พจณานุกรมไม้ดอกไม้ประดับในเมืองไทย. บริษัท รวมสาร (1977) จำกัด พิมพ์ครั้งที่ 5. 981 หน้า (218)
- ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2540. ไม้ดอกหอม เล่ม 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. พิมพ์ครั้งที่ 5. 160 หน้า (85)
- ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ. 2546. หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. 336 หน้า (82)