ชะอม

ชะอม

ชื่อสมุนไพร : ชะอม
ชื่ออื่น ๆ
: โต๊ะปัว (ลัวะ-เชียงใหม่), ผักหละ (เหนือ), ผักหา (แม่ฮ่องสอน), ฝ่าเซ้งดู่ พูซูเด๊าะ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โพซุยโดะ (กระเหรี่ยง กำแพงเพชร) , ผักหล๊ะ (ไทยยอง), อม (ใต้), ผักขา (อุดรธานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia pennata (L.) Willd.ssp. insuavis
ชื่อวงศ์ MIMOSEAE

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นชะอม เป็นไม้พุ่มขนาดย่อมไม่สูงมาก แต่เคยมีพบการพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร กิ่งก้านของชะอมมีหนามแหลม
  • ใบชะอม ลักษณะ เป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถิน (แยกได้โดยการสังเกตุดีๆหรือดมกลิ่น)  ใบอ่อนมีกลิ่น ฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอแต่ก็ไม่เหมือนซะทีเดียวนะครับ ใบเรียงแบบสลับใบย่อย ออกตรง ข้ามกัน ใบย่อรูปรี มีประมาณ 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ส่วนที่มักนำไปทานก็คือใบออ่นหรือยอกของชะอมนั่นเอง
  • ดอกชะอม สีขาวหรือสีขาวนวลขนาดเล็ก ดอกย่อยรวมกันเป็นช่อกระจุก ทรงกลม แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 4-5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคนเป็นหลอด ปลายแหลมแยกเป็นแฉก รูปใบหอก จะเห็นชัดเจนเฉพาะเกสรเพศผู้เป็นเส้นฝอย ๆ
  • ผลชะอม เป็นฝักแบน ยาว รูปขอบขนาน กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 5-13 ซม.มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน เมล็ด แบน กว้าง 4.0-6.5 ซม. ยาว 7.5-10.0 ซม. เมื่อแห้งมีสีน้ำตาลเข้ม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ราก, ใบอ่อน

สรรพคุณ ชะอม :

  • ใบอ่อน ช่วยลดความร้อนในร่างกาย
  • ราก รสร้อนเล็กน้อย แก้ท้องขึ้นอึกเฟ้อ กรด จุกเสียดแน่นท้องและขับลมในกระเพาะอาหาร ขับลมในลำไส้ แก้ปวดเสียวในท้อง(มดลูกอักเสบ)

[su_quote cite=”The Description”]ในหน้าฝน อาจทำให้ชะอมมีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นฉุนกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องได้ ชะอมมีกรดยูริกสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์ยังสามารถรับประทานได้ แต่ควรจำกัดปริมาณในการรับประทานไม่ให้มากเกินไป แต่หากมีอาการของโรคเกาต์ค่อนข้างหนัก และปวดเข่ามาก ควรหลีกเลี่ยง[/su_quote]

Scroll to top