คราม

คราม

ชื่อสมุนไพร : คราม
ชื่ออื่น ๆ
: ครามย้อย (ภาคกลางและภาคเหนือ),  คาม(พายัพ-อีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Indigofera tinctoria Linn.
ชื่อวงศ์ : FABACEAELEGUMINOSAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นคราม เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขามาก บ้างว่าแตกกิ่งก้านน้อย มีความสูงของต้นประมาณ 4-6 ฟุต หรือสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลมสีเขียว มักพาดเกาะตามสิ่งที่อยู่ใกล้กับลำต้น
    คราม
  • ใบคราม มีลักษณะคล้ายกับใบก้างปลาแต่จะมีขนาดเล็กกว่า โดยใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปวงรีแกมรูปขอบขนาน หรือเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.5-3.5 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียวมีลักษณะบาง
  • ดอกคราม เป็นช่อตามซอกใบ ช่อดอกยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ดอกย่อยมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกเป็นสีม่วงแกมสีน้ำตาลหรือเป็นสีชมพูและเป็นสีเขียวอ่อนแกม
  • ผลคราม มีลักษณะเป็นฝักกลมขนาดเล็ก ยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร โดยออกเป็นกระจุก ฝักมีลักษณะคล้ายฝักถั่ว ภายในฝักมีเมล็ดสีครีมอมสีเหลืองขนาดเล็ก

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ราก, เปลือก, ทั้งต้น, ทั้งห้า

สรรพคุณ คราม :

  • ใบ รสเย็น ดับพิษ แก้ไข้ตัวร้อน แก้ปวดศีรษะ
  • ราก เป็นยาแก้พิษของสารหนู
  • เปลือก แก้พิษงูกัด แก้พิษฝี แก้ตัวพยาธิ แก้โลหิต แก้บวม
  • ทั้งต้น ฟอกปัสสาวะให้บริสุทธิ์ แก้กษัยน้ำปัสสาวะพิการต่างๆ น้ำปัสสาวะขุ่นข้น รักษานิ่ว แก้ไข้ตัวร้อน แก้ปวดศีรษะ แก้โรคเลือดตีขึ้น
  • ทั้งห้า แก้บวม บวมพอง เป็นยาระบาย
  • ไม่ระบุส่วนที่ใช้ ฟอกขับปัสสาวะให้บริสุทธิ์ แก้กษัย น้ำปัสสาวะขุ่นข้น แก้นิ่ว

ข้อมูลเพิ่มเติม :

รูปแบบและขนาดวิธีใช้

  • ใช้ขับปัสสาวะ ฟอกปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้กษัย แก้หอบหืด แก้ปัสสาวะขุ่นข้น ลดอาการบวมน้ำ โดยการนำครามทั้งต้นต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้ลดไข้ แก้ปวดศีรษะ โดยนำต้นครามสดๆ นำมาทุบแล้วใช้พอกกระหม่อม
  • ใช้แก้แผลอักเสบ สมานแผล แก้พิษ ทั้งพิษงู และพิษจากสัตว์มีพิษ โดยนำทั้งต้นครามมาบด แล้วพอกบริเวณที่เป็น จะทำให้แผลหายเร็ว ไม่มีหนอง
  •  ใช้แก้ไข้ตัวร้อน แก้ปวดศีรษะ แก้หวัด โดยนำใบครามาตำพอกบริเวณศีรษะ และใช้ต้มกับน้ำดื่มอีกทางด้วย
  • ใช้แก้หอบหืด แก้อักเสบบวม ฆ่าพยาธิ โดยนำเปลือกต้นครามมาต้มกับน้ำดื่ม
  • ใช้แก้หิด โดยนำน้ำมันจากเมล็ดครมมาทาบริเวณที่เป็น

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สำหรับการใช้ครามเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคนั้นควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาดและปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดและปริมาณที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้

ครามถูกนำมาใช้ประโยชน์หลักๆ คือ การนำมาย้อมสีผ้ามาตั้งแต่ในอดีตแล้ว เนื่องจากในลำต้น และใบมีสารอินดิแคน (indican) เมื่อผ่านกระบวนการหมักด้วยการแช่น้ำ จะเปลี่ยนเป็นสารอินดอกซิล (indoxyl) และเมื่อได้สัมผัสกับอากาศก็จะเปลี่ยนเป็นสารอินดิโกบลู (indigo blue) ซึ่งให้สีโทนน้ำเงิน ซึ่งภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทย จะนำครามมาทำสีย้อมผ้า โดยใช้ใบ และต้นสดมาหมักในน้ำ 1-2 น้ำ แล้วสีน้ำเงินจะตกอยู่ก้นภาชนะ จากนั้นจึงเทใส่ถุงผ้าหนาๆ ทับให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำผงสีที่ได้ไปทำให้แห้ง จะได้ผงสีน้ำเงินสามารถนำใช้เป็นสีย้อมผ้า สีวาดรูป และสีน้ำหมึกเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำน้ำที่คั้นได้จากใบของต้นครามมาใช้บำรุงเส้นผม และช่วยป้องกันผมหงอก ช่วยปิดผมขาวได้อีกด้วย

Scroll to top