ชื่อสมุนไพร : คดสัง,
ชื่ออื่น ๆ : หญ้ายอดคำ (ภาคเหนือ) , ชุด, จุด (ภาคใต้), ย่านตุด, คดสัง (สุราษฎร์ธานี), เปือย(นครพนม), เบน (ขอนแก่น)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Combretum trifoliatum Vent.
วงศ์ : COMBRETACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นคดสัง เป็นพรรณไม้เถา หรือพรรณไม้พุ่มเลื้อย มีความสูงประมาณ 3-5 ม. ส่วนกิ่งอ่อนจะมีขนนุ่มสี น้ำตาลแกมเหลือง เมื่อแก่ผิวจะเกลี้ยง
- ใบคดสัง จะเป็นใบเดี่ยว จะออกตรงข้อเดียวกัน ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปหอกจะมีความกว้างประมาณ 3-5.5 ซม. มีความยามประมาณ 8-16 ซม. ตรงปลายใบของมันจะแหลม มีติ่งสั้น ตรงโคนใบนั้น มน หรือค่อนข้างกลมเล็กน้อย เนื้อใบจะหนาและมัน ด้านบนค่อนข้างจะเกลี้ยง ด้านล่างมีตุ่มหรือ จะมีแถบของขนนุ่ม มีสีน้ำตาลแกมเหลืองพาดขนานตามความยาวของเส้นกลางใบ เส้นใบนั้นจะ มีอยู่ประมาณ 6-8 คู่ส่วนก้านในจะมีความยาวประมาณ 4-7 มม. และมีขนนุ่มและมีสนิมเหล็ก พอแก่จัดผิวจะเกลี้ยงและมีสีดำมัน
- ดอกคดสัง จะออกเป็นช่อกระจายตรงปลายยอด หรือตามง่ามใบ ช่อดอกจะมีความยาว 8-20 ซม. ดอกจะมีสีขาวหรือขาวอมเหลือง และมีกลิ่นหอม ส่วนกลีบรองกลีบดอกตอนล่างจะเชื่อมติดกันเป็นท่อมี ความยาวประมาณ 1-1.5 มม. มีขนคล้ายเส้นไหมมีสีขี้เถา หรือสีน้ำตาลแกมเหลือง ส่วนบนนั้น จะแผ่ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ตรงปลายของมันจะแยกออกเป็นกลีบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม แกมรูปไขจะมีอยู่ประมาณ 5 กลีบ และมีความยาวประมาณ 1 มม. และกว้างประมาณ 0.2 – 0.4 มม. จะมีขนนุ่มหนาแน่น เกสรตัวผู้จะมีอยู่ 10 อัน ก้านเกสรตัวผู้จะมีความยาวประมาณ 4-5 มม. อับเรณุมีความยาวประมาณ 0.5 มม. ส่วนท่อเกสรตัวเมียจะมีความยาวประมาณ 5 มม.
- ผลคดสัง นั้นจะไม่มีก้าน ลักษณะรูปรีแคบ มีความกว้างประมาณ 1-1.5 ซม. มีความยาว 3-3.5 ซม. ผิว จะเกลี้ยง มีสีน้ำตาลดำและเป็นมัน และจะมีครีบปีกแข็ง ปีจะมีความกว้างประมาณ 3-4 มม.
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ผล, ราก
สรรพคุณ คดสัง :
- ราก ปรุงเป็นยาชงแก้ตกขาว ใช้ชำระล้างอวัยวะสืบพันธุ์สตรี
- เปลือกและราก ฝนกับน้ำซาวข้าว กินเป็นยาสมานลำไส้ แก้บิด แก้ท้องร่วง หรือดองเหล้ากินแก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด
- ผล ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน ต้มน้ำอมแก้เหงือกบวม และปากเปื่อย ผลมาผสมกับเมล็ดข้าวโพด แล้วทำให้สุก นำมาปั้นเป็นยาลูกกลอน เอามาเคี้ยวเป็นยาบำรุงและรักษาเหงือก
- ทั้งต้น รักษาโรคบิด ขับพยาธิ