เข็มป่า

เข็มป่า

ชื่อสมุนไพร : เข็มป่า
ชื่ออื่น ๆ
: เข็มตาไก่(เชียงใหม่), เข็มโพดสะมา(ตานี), เข็มดอย (พายัพ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pavetta indica L.
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นเข็มป่า เป็นพืชจำพวกต้น พรรณไม้ขนาดกลาง ลำต้นนั้นใหญ่ประมาณเท่าข้อมือ ลำต้นมีความสูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านต่ำ เป็นทรงพุ่ม เปลือกสีเทาปนน้ำตาล
  • ใบเข็มป่า  ใบนั้นจะมีสีเขียวสด เป็นรูปไข่ยาวๆ ริมขอบใบเรียบ ใบนั้นจะยาวประมาณ 6-18 ซม. และ กว้างประมาณ 2.5 ซม.
  • ดอกเข็มป่า  ออกดอกเป็นช่อ ออกตามปลายกิ่ง ดอกสีขาวปนชมพู กลีบเลี้ยงสีแดงอมม่วง โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด รูปเข็ม ปลายแยก 4 แฉก สีขาวปลายสีชมพู เกสรเพศผู้ 4 เกสร อยู่ระหว่างกลีบดอก
  • ผลเข็มป่า  จะมีลักษณะเป็นผลกลม ๆ ผลแก่มีสีเขียว ผลสุกมีสีดำคล้ำ มีเนื้อหุ้มเมล็ด กินได้รสหวานปะแล่ม

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก, ใบ, ผล, เปลือก, ราก

สรรพคุณ เข็มป่า :

  • ดอก ใช้รักษาโรคตาเปียก ตากแดง ตาแฉะ
  • ใบ ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิทั้งปวง
  • ผล ใช้เป็นยารักษาโรคริดสีดวงจมูก
  • เปลือก ใช้ตำแล้วคั้นเอาน้ำหยอดหูใช้ฆ่าแมงคาเรืองเข้าหู
  • ราก ใช้ทำเป็นยารักษาเสมหะในท้อง หรือในทรวงอก

เอกสารอ้างอิง

  1. วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพร: น.140 กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
  2. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม, กองประกอบโรคศิลปะ, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
Scroll to top