ชื่อสมุนไพร : ข่าลิง
ชื่ออื่นๆ : กูวะกือติง, ข่าเล็ก, ข่าป่า, ข่าน้ำ
ชื่อสามัญ: Joint-whip Ginger, Lesser Alpinia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia conchigera Griff.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ข่าลิง เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สูง 50-150 ซม. รสเผ็ดและมีกลิ่นฉุนแรงมาก
- ใบข่าลิง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบและมีคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบบาง เรียบ สีเขียว กว้าง 4-10 ซม. ยาว 15-30 ซม. ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบแหลม
- ดอกข่าลิง สีแดงอมม่วงหรือสีขาวอมเขียวถึงเหลืองนวล ออกเป็นช่อตั้ง ยาว 15-25 ซม. ดอกย่อยขนาด 1 ซม. กลีบรองดอก เชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอก โคนเชื่อมกัน เป็นหลอดสั้นๆ กลีบปากแผ่ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ มีเส้นสีม่วง แกมแดงเป็นทาง
- ผลข่าลิง รูปทรงกลม ขนาดประมาณ 1 ซม. ผลแก่สีส้ม ถึงแดง ปลายผลมักมีกลีบเลี้ยงติดอยู่
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ดอก, ต้น, เหง้า, ราก
สรรพคุณ ข่าลิง :
- ใบ รสเผ็ดร้อนซ่า แก้เกลื้อนน้อย เกลื้อนใหญ่ ฆ่าพพยาธิต่างๆ
- ดอก รสเผ็ดร้อนซ่า ใช้ขับพยาธิในลำไส้
- ต้น รสเผ็ดร้อนซ่า เป็นยาแก้ฝีดาษ ฝีทราย ฝีเส้น ฝีฝักบัว
- เหง้า รสเผ็ดร้อนซ่า เป็นยาแก้กามโรค แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ เป็นยาถ่าย แก้กามโรค ใช้ทาเวลาถูกแมลงกัดต่อย สตรีอยู่ไฟใช้กินหลังคลอด แก้วิงเวียนแก้ฝีดาษ ฝีเส้น ฝีทราย ฝีฝักบัว แก้เกลื้อนน้อย เกลื้อนใหญ่ ขับพยาธิในลำไส้
- เหง้าและราก แก้ประดง รักษากามโรค เกลื้อน พิษฝี ปวดท้อง ผายลม ขับลมในลำไส้ แก้พิษสุนัขบ้า
ข้อมูลเพิ่มเติม :
- โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน ใช้ใบ หรือดอก ขยำเอน้ำเป็นยาทารักษากลาก เกลื้อน หรือใช้เหง้าแก่ตำแล้วแช่ในเหล้าโรง 1 สัปดาห์ ทาบริเวณที่มีอาการจนกว่าจะหาย
- ปวดท้อง บิด ท้องขึ้นท้องเฟ้อ ใช้เหง้าแก่สดต้มน้ำดื่ม
- บวม แก้ฟกช้ำ ใช้ข่าแก่สดคั้นเอาน้ำทา
- แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้เหง้าแก่สดตำเอาน้ำทาบริเวณที่มีอาการ ช่วยบรรเทาอาการปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย
ยอดอ่อน หน่ออ่อนข่าลิง รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ป่น หรือใส่เครื่องแกง ต้มยำ ตำเมี่ยงข่า เป็นต้น