กุ่ยช่าย

กุยช่าย

ชื่อสมุนไพร : กุยช่าย
ชื่ออื่น ๆ:
ผักไม้กวาด (ภาคกลาง), กูไฉ่ (จีน-แต้จิ๋ว), กุยช่าย, หอมแป้น, ผักแป้น, หัวชู
ชื่อสามัญ : Chinese chives, Garlic chives, Leek, Chinese leek, Oriental garlic.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium tuberosum Rottler ex Spreng.
วงศ์ : ALLIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกุ่ยช่าย เป็นพรรณไม้ที่ปลูกมากในประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน จะมีความสูงประมาณ 20-45 ซม. ทั้งต้นจะมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว  รากกุ่ยช่าย รากมีลักษณะเป็นฝอย มีมาก โดยจะงอกแผ่กระจายไปรอบลำต้น ของมัน เหง้ากุ่ยช่าย จะอยู่ส่วยบนของลำต้นพองออกเล็กน้อย มีลักษณะเป็นรูปกลมสีขาว มีจำนวน 1-3 อัน


  • ใบกุ่ยช่าย จะออกจากโคนต้นเป็นเส้นแบน ยาว กว้างประมาณ 1.5-9 มิลลิเมตร ยาว 10-27 เซนติเมตร เป็นสีเขียวแก่ ขอบใบเรียบ ไม่มีขน ปลายใบแหลม ตัวใบเป็นมัน


  • ดอกกุ่ยช่าย จะออกจากโคนต้น สูงขึ้นประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนบนดอกจะออกเป็นช่อ มีกลีบหุ้มช่อดอกเนเยื่อสีขาว มี 1-3 กลีบ ส่วนปลายแหลมดอกย่อยสีขาวมีกลีบอยู่ 6 กลีบ มีรูปกลมรี ยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ปลายของมันจะแหลมนมถึงแหลมมาก เรียงสลับกันเป็น 2 ชั้น ก้านเกสรตัวผู้ยาวไม่เกินกลีบดอก เกสรตัวผู้มีจำนวน 6 อัน อับเรณูเป็นสีเหลือง มีก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่จะอยู่เหนือกว่าส่วนอื่น ของดอก ภายในจะแบ่งออกเป็น 3 ห้อง เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม


  • ผลกุ่ยช่าย จะมีรูปทรงกลมรี เป็น 3 พู ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 มิลลิเมตร


  • เมล็ดกุ่ยช่าย ภายในเมล็ดจะเป็นสีดำ รูปทรงกลมรี แบน คล้ายรูปไต

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ ใช้ใบสด, เมล็ด ใช้สด และนึ่ง หรือคั่วให้สุกแล้วตากแห้ง ร่อนแยกเอาสิ่งเจือปนหรือเปลือกดำออกแล้คั่วให้เหลืองจการนั้นก็นำไปใช้ได้, เหง้า ใช้สด

สรรพคุณ กุ่ยช่าย :

  • ใบ จะมีกลิ่นฉุน รสร้อน ช่วยแก้พิษ แมลงสัตว์กัดต่อย ฟกช้ำ บวมเมื่อถูกกระแทก ปวดแน่นหน้าอก ไอเป็นเลือดอาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด น้ำกามเคลื่อน หอบและเป็นยาขับถ่ายลม
    วิธีใช้ คือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วคั่นเอาน้ำกิน หรือใช้ผัดให้สุกเป็นอาหาร ใช้ภายนอก ใช้ตำให้ละเอียดคั่นเอาน้ำหยด หรือเอากากพอก หรือต้มเอาน้ำล้างแผล
  • เมล็ด จะมีกลิ่นฉุน รสเค็ม ใช้เป็นยาขับพยาธิเส้นด้าย ยาขับประจำเดือน แก้ปวดเอว บำรุงตับและไต เป็นระดูขาวขับประจำเดือน หนองใน ปัสาวะกระปริบกระปรอยและรดที่นอน
    วิธีใช้ คือใช้เมล็ดแห้งนำมาต้มกิน หรือนำมาบดให้ละเอียดเป็นผงใช้ชงกิน หรือทำเป็นยาเม็ด ใช้ประมาณ 3-10 กรัม
  • เหง้า มีกลิ่นฉุน รสร้อน เป็นยาแก้เจ็บหน้าอก เป็นระดูขาว ขับสิ่งคั่งข้าง อาหารคั่งค้าง ขับประจำเดือน ไอเป็นเลือด ฟกช้ำ บวมเนื่องจกถูกกระทบกระแทก เป็นกลาก และยังทำให้ร่างกายอบอุ่นด้วย
    วิธีใช้ คือ ใช้ต้มเอาน้ำกินใช้ภายนอก ก็โดยการตำหรือบดให้ละเอียดแล้วใช้ทา ปริมาณที่ใช้ ใช้สด 30-60 กรัม

ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้กับบุคคลที่มีร่างกายอ่อนแอ และเป็นโรคผิวหนังที่มีแผลเป็นหนองเรื้อรัง หรือเป็นโรคตา

Scroll to top