กระเบา

กระเบาน้ำ

ชื่อสมุนไพร : กระเบาน้ำ
ชื่ออื่น ๆ 
: กะเบาข้าวแข็ง, กะเบาข้าวเหนียว, กะเบา, กะเบาเบ้าแข็ง(ภาคกลาง), มะกูลอ, กะตงคง(ลาว-เชียงใหม่), กะดงเบา(ลำปาง), กะเบาใหญ่(นครราชสีมา), เบา, กูลา(ปัตตานี), หัวค่าง(ประจวบ), กะเบาตึก, กะเบาดึก, กราเบา(เขมร), ตั้วโฮ่งจี๊(จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydnocarpus anthelminticus Pierre.
ชื่อวงศ์ : BIXACEAE 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นกระเบาน้ำ เป็นพรรณไม้ยืนต้น ซึ่งมีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอมเทา
    กระเบาน้ำ
  • ใบกระเบาน้ำ มีสีเขียวแก่ เป็นใบเดี่ยว รูปลักษณะของใบยาวประมาณ 4-4.5 นิ่ว มีความกว้างประมาณ
    1-1.5 นิ้ว กิ่งใบหนาทึบมาก และใบของมันจะมีรสเบื่อเมา
    กระเบา
  • ดอกกระเบาน้ำ สีขาวนวล กลิ่นหอมฉุน ดอกเล็ก ออกเป็นช่อหรือเป็นกระจุกประมาณ 2-3 ดอก
  • ผลกระเบาน้ำ ค่อนข้างกลม ขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว เปลือกของมันหนา แข็ง เป็นสีน้ำตาลหุ้มด้วยขนสั้น เนื้อไม้ของมันเป็นสีขาวอมเหลือง และข้างในจะมีเมล็ดจะซ่อนอยู่ในเนื้อของมันเป็นจำนวนมาก
    กระเบาน้ำ

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลแก่สุก, เมล็ด, น้ำมันในเมล็ด (Chaumoogra Oil)

สรรพคุณ กระเบาน้ำ :

  • ผลแก่สุก ใช้รับประทานเนื้อในเป็นอาหารคล้ายเผือกต้ม
  • น้ำมันในเมล็ด  ใช้ดัดแปลงทางเคมีเป็นยารับประทานหรือยาฉีดหรือยาทาภายนอก บำบัดโรคเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด และโรคผิวหนัง ผื่นคันที่มีตัวทุกชนิด เพราะมีรสเมา สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี ใช้ปรุงเป็นน้ำมันใส่ผมรักษาโรคบนศีรษะได้ด้วย

กระเบา กระเบา

ข้อมูลเพิ่มเติม : 

  • ในเมล็ดจะมีน้ำมัน เรียกว่า Chaulmoogra Oil และจะมีสารจำพวก glycerides อยู่ เช่น oleicacid,hydnocarpic acid,palmatic acid,chaulmoogric acid
  • น้ำมันในเมล็ด ใช้แก้โรคผิวหนังทุกประเภท โดยนำเมล็ด 5-10 เมล็ด มาแกะเปลือกออก ตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืชลงไปพอควร คลุกเข้ากันจากนั้นนำมาทาผิวหนัง แก้โรคเรื้อน 
    นำน้ำมันจากเมล็ด 3 มิลลิลิตร น้ำเชื่อม 40 มิลลิลิตร น้ำนมอุ่น 30 มิลลิลิตร น้ำ 160 มิลลิลิตร ผสมเข้ากันกินวันละ 3 เวลา หลังอาหาร
    หรือใช้น้ำมันจากเมล็ดฉีดเข้าผิวหนัง กล้ามเนื้อ ให้ซึมผ่านแผล(direct infusion)เลย ในครั้งแรกใช้ 1.5 มิลลิลิตร ต่อมา 1 มิลลิลิตร สัปดาห์ละครั้ง นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็น น้ำมันใส่ผม รักษาโรคบนศีรษะ คุดทะราด แก้มะเร็ง
Scroll to top