ชื่ออื่น : กระท้อน, เตียน, ล่อน, สะท้อน(ภาคใต้), มะต้อง(ภาคเหนือ,อุดรธานี), มะติ๋น(ภาคเหนือ), สตียา, สะตู(มาเลย์-นราธิวาส), สะโต(มาเลย์-ปัตตานี)
ชื่อสามัญ : Sentul, Santol, Red sentol, Yellow sentol
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr.
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นกระท้อน เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ
- ใบกระท้อน ใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว
- ดอกกระท้อน ดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ
- ผลกระท้อน ผลกลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด ออกดอกเดือน มกราคม -มีนาคม และเป็นผลเดือน มีนาคม – พฤษภาคม
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, เปลือกต้น, เปลือกผล, ราก
สรรพคุณ กระท้อน :
- ใบ รสเปรี้ยวเย็นฝาด ใช้ขับเหงื่อ ต้มอาบแก้ไข้
- เปลือกต้น รสเปรี้ยวเย็นฝาด รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้ท้องเสีย
- เปลือกผล รสเปรี้ยวเย็นฝาด เป็นยาสมาน
- ราก รสเปรี้ยวเย็นฝาด แก้ท้องร่วง แก้บิด มูกเลือด ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้รากสาด
ข้อมูลเพิ่มเติม:
- การใช้ประโยชน์ทางอาหาร : กระท้อนใช้ทำอาหารคาวหวานได้หลายชนิด ทั้งอาหารคาว เช่น แกงฮังเล แกงคั่ว ผัด ตำกระท้อน และอาหารหวาน เช่น กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนดอง แยม กระท้อนกวนและเยลลี่ หรือกินเป็นผลไม้สด กระท้อนเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ในบิโกล ประเทศฟิลิปปินส์ นำกระท้อนไปแกงกับกะทิ