โหราน้ำเต้า

โหราน้ำเต้า

ชื่อสมุนไพร : โหราน้ำเต้า
ชื่ออื่นๆ
 : เทียนหนานซิง, หนานซิง(จีนกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arisaema consanguineum Schott.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นโหราน้ำเต้า เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีความสูงของต้นประมาณ 40-90 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดินเป็นรูปกลมแบน มีรากฝอยมาก เปลือกหัวเป็นสีเหลืองเข้ม หัวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.4-5.5 เซนติเมตร
    โหราน้ำเต้า
  • ใบโหราน้ำเต้า ก้านใบจะแทงออกจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ก้านใบกลมตั้งตรง เนื้อนิ่ม และมีร่องคล้ายกับก้านกล้วย บริเวณโคนก้านใบมีเยื่อบางๆ สีขาวมีแต้มสีม่วงหุ้มอยู่ ก้านใบยาวประมาณ 40-85 เซนติเมตร ใบเป็นใบรวมแตกออกเป็นแฉกเรียงเป็นวงกลม คล้ายกับดาวกระจาย มีประมาณ 7-23 แฉก ลักษณะเป็นรูปรียาว ปลายใบแหลม โคนใบอยู่ในจุดเดียวกัน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 13-19 เซนติเมตร เนื้อใบไม่มีขนปกคลุม หลังใบเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน เส้นใบเรียงแบบขนนก
    โหราน้ำเต้า
  • ดอกโหราน้ำเต้า ออกดอกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากโคนต้น ก้านช่อดอกยาวประมาณ 30-70 เซนติเมตร ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกออกเป็นแต่ละกลุ่ม ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก อาจอยู่ในกลุ่มเดียวกัน มีเนื้อนิ่ม ดอกเป็นสีม่วงดำ มีกาบใบหุ้มช่อดอก 1 ใบ เป็นสีเขียว ยาวประมาณ 11-16 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก
  • ผลโหราน้ำเต้า จะอยู่บริเวณในดอกและผลเป็นสีแดง

ส่วนที่ใช้เป็นยา  : หัว

สรรพคุณ โหราน้ำเต้า :

  • หัว ยาร้อน ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และม้าม ใช้เป็นยาสงบประสาท ใช้แก้อาการตกใจง่ายชักกระตุก ใช้เป็นยาแก้ไข้สูงลมชักในเด็ก ใช้เป็นยาแก้ลมบ้าหมู ช่วยกระจายและลายการอุดตันของเสมหะในลำคอ แก้คอตีบ หัวใช้เป็นยาขับลม ช่วยแก้บาดทะยัก หัวใช้ภายนอกเป็นยารักษาพิษฝีหนองปวดบวม แก้พิษงู แมลงสัตว์กัดต่อย แก้อาการฟกช้ำบวม และฆ่าแมลงวันได้ ช่วยแก้อัมพาตจากเสมหะติดหลอดลมทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการวิงเวียน ใช้แก้ตาและปากเบี้ยวที่ใบหน้าหรือใบหน้ามีอาการชา

สมุนไพรชนิดนี้มีพิษ ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ สำหรับผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการลิ้นชา เวียนศีรษะ เจ็บคอ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ต้องรีบพาไปพบแพทย์หรือนำส่งโรงพยาบาล

Scroll to top