สมอไทย

สมอไทย

ชื่อสมุนไพร : สมอไทย
ชื่ออื่น ๆ
 : สมออัพยา (กลาง) , มะนะ (พายัพ) , ม่าแน่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) , หมากแน่ะ (กะเหรี่ยง- แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Chebulic Myrobalans, Myrobalan Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นสมอไทย เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 20-30 เมตร เรือนยอดกลมกว้าง เปลือกต้นขรุขระ สีเทาอมดำ เปลือกในสีเหลืองอ่อน เปลือกชั้นในมีน้ำยางสีแดง กิ่งอ่อนสีเหลืองหรือสีเหลืองแกมน้ำตาล มีขนคล้ายไหม เปลือกแตกเป็นสะเก็ดห่างๆ ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น
    สมอไทย
  • ใบสมอไทย เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก หรือรูปรีกว้าง กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-18 ซม.ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนกลมหรือกึ่งตัด หรือบางครั้งเบี้ยว ขอบเรียบ แผ่นใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง ผิวด้านบนเป็นเงามันมีขนเล็กน้อย ผิวด้านล่างมีขนคล้ายไหมถึงขนสั้นหนานุ่ม เมื่อแก่เกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ ข้างละ 5-8 เส้น ก้านใบยาว 1.5-3 ซม. มีขนคล้ายไหม มีต่อม 1 คู่ ใกล้โคนใบ
    สมอไทย
  • ดอกสมอไทย ออกเป็นช่อคล้ายช่อเชิงลดหรือช่อแยกแขนง มี 3-5 ช่อ สีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ  มักจะออกพร้อมๆกับใบอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ยาว 5-8.5 ซม. ไม่มีก้านช่อดอก หรือก้านช่อดอกสั้น แกนกลางสั้นและเปราะ มีขนสั้นนุ่ม ดอกสมบูรณ์เพศขนาดเล็ก 0.3-0.4 ซม. ไม่มีกลีบดอก ส่วนบนเป็นรูปถ้วยตื้นมีขนคลุมด้านนอก ใบประดับรูปแถบ ยาว 3.5-4 มม. ปลายแหลม มีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก เกลี้ยง รูปคล้ายสามเหลี่ยม เกสรเพศผู้มี 10 อัน ยื่นพ้นหลอดกลีบเลี้ยง ก้านชูอับเรณู ยาว 3-3.5 มม. เกลี้ยง จานฐานดอกมีขน เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 2-3.5 มม. รังไข่เกลี้ยง หมอนรองดอกมีพูและขนหนาแน่น ออกดอกเดือนเมษายนถึงมิถุนายน
    สมอไทย
  • ผลสมอไทย แบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปรีหรือเกือบกลม กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. ผิวเกลี้ยง หรือมีสันตื้น ๆ ตามยาว 5 สัน เมื่อแก่สีเขียวอมเหลือง หรือสีเขียวปนน้ำตาลแดง ติดผลราวเดือนกันยายนถึงธันวาคม
    ผลสมอไทย
  • เมล็ดสมอไทย แข็ง มี 1 เมล็ด รูปยาวรี
  • พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง หรือพบตามทุ่งหญ้า ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง ประมาณ 1,000 เมตร

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ทั้งต้น, ดอก, ผล, เปลือก, เนื้อหุ้มเมล็ด

สรรพคุณ สมอไทย :

  • ทั้งต้น เป็นยาขับเสมหะ แก้อาการเสียวคอและเสียวหน้าอก แก้ท้องผูก ใช้เป็นยาสมาน
  • ดอก เป็นยารักษาโรคบิด
  • ผล ใช้ทาภายนอกบดให้ละเอียดโรยแผลเรื้อรัง ถ้าเป็นผลอ่อนเป็นยาระบาย และผลแก่จะมีรสฝาด ซึ่งมีสารพวก tannin เป็นยาสมาน ยาระบายรู้จักปิด แก้ลมจุกเสียด เป็นยาเจริญอาหาร หรือยาบำรุง อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ ขับน้ำเหลืองเสีย
  • เปลือก เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ
  • เนื้อหุ้มเมล็ด แก้บิด แก้ท้องผูก ท้องขึ้นอืดเฟ้อ รักษาโรคเกี่ยวกับน้ำดี โรคท้องมาน ตับและม้ามโต อาเจียน อาการสะอึก โรคหืด ท้องร่วงเรื้อรัง

[su_spoiler title=”วิธีและปริมาณที่ใช้ : ” icon=”arrow”]ใช้ผลอ่อน 5-6 ผล หรือ 30 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานครั้งเดียว จะถ่ายหลังให้ยาประมาณ 2 ชั่วโมง[/su_spoiler]

Scroll to top