ชื่อสมุนไพร : สมอดีงู
ชื่ออื่น ๆ : สมอหมึก (พัทลุง), สมอเหลี่ยม (ชุมพร)
ชื่อสามัญ : Yellow myrobalan
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia citrina (Gaertn.) Roxb. ex Flem.
ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
- ต้นสมอดีงู เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้นแผ่ออกกว้าง ต้นมีขนาดประมาณ 150-200 เซนติเมตร และสูงได้ประมาณ 20-30 เมตร โคนต้นเป็นพูพอนขนาดเล็ก เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลแกมเทา ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
- ใบสมอดีงู เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบเรียบ มีเนื้อใบค่อนข้างหนาสักหน่อย ผิวเกลี้ยงสีเขียว ขนาดกลาง ใบกว้างประมาณ 1-2.5 นิ้วยาว 1.5-5.5 นิ้วก้านใบยาว 0.5-1 นิ้ว
- ดอกสมอดีงู ออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ และที่ส่วนยอดของต้น ช่อดอกยาวประมาณ 1-2.5 นิ้ว แต่ดอกย่อยนั้นจะไม่มีก้านดอกลักษณะของดอกย่อยที่โคนจะติดเชื่อมกันเป็นหลอด และตรงส่วนปลายแยกออกเป็นรูปถ้วยตื่น ๆ กลีบรูปสามเหลี่ยมด้านใบจะมีขน ด้านนอกเกลี้ยง มีเกสร 10 อัน
- ผลสมอดีงู เป็นรูปมนรี ผิวเกลี้ยง แต่จะมีสันอยู่ 5 สัน ซึ่งเมื่อผลแห้งจะทำให้มองเห็นสันนี้ได้ชัดเจนมาก ผลโตประมาณ 1-2 ซม. ยาว 2-3 ซม. ภายในมีเมล็ดเป็นรูปรี ผิวขรุขระมี 5 สันเช่นกัน
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล
สรรพคุณ สมอดีงู :
- ผล รสขมฝาด แก้พิษดี พิษโลหิต แก้ไอ ขับโลหิตระดูสตรี ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะและโลหิต แก้เจ็บคอ ถ่ายอุจจาระธาตุ ระบายอุจจาระแรงกว่าสมอชนิดอื่นมาก ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับช่องท้อง เป็นยาฝาดสมาน รักษาโรคท้องร่วงอย่างแรง