สนหางสิงห์

สนหางสิงห์

ชื่อสมุนไพร : สนหางสิงห์
ชื่ออื่น ๆ
: จันทยี จันทน์ยี่ (เชียงใหม่), สนเทศ สนแผง (กรุงเทพฯ), เฉ็กแปะ (จีนแต้จิ๋ว), เช่อป๋อ เช่อไป่เย่ ไป่จื่อเหยิน (จีนกลาง)
ชื่อสามัญ : Chimese Arborvitae, Orientali Arborvitae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Platycladus orientalis (L.) Franco
ชื่อวงศ์ : CUPRESSACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นสนหางสิงห์ ป็นไม้ยืนต้น มีความสูงของต้นประมาณ 20 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นและกิ่งก้านบิดเป็นเกลียว เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอมสีแดง เปลือกต้นเป็นเกล็ดมีสีน้ำตาลอมแดง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และการตอนกิ่ง จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นพอประมาณ
  • ใบสนหางสิงห์ เป็นใบร่วมหรือใบประกอบแบบขนนกหลาชั้น เรียงเป็นแผง ใบย่อยออกเรียงสลับและเป็นเกล็ดขนาดเล็ก เรียงติดกันแน่นกับกิ่ง ซึ่งอยู่ในลักษณะเป็นแผง มีสีเขียวสด
    สนหางสิงห์
  • ดอกสนหางสิงห์ ออกดอกเดี่ยว ดอกตัวผู้และตัวเมียจะอยู่กันคนละดอก แต่ก็อยู่ในต้นเดียวกัน ซึ่งเราสังเกตได้ง่ายคือ ดอกเพศเมียนั้นไม่มีก้าน แต่ดอกเพศผู้นั้นมีก้านสั้นมาก
  • ผลสนหางสิงห์ มีลักษณะเป็นรูปกลมตั้งตรง ผลอ่อนฉ่ำน้ำ สีเขียวอมสีน้ำเงิน มีผงสีขาวปกคลุมอยู่ เมื่อแก่จะเป็นผลแห้ง มีสีน้ำตาลอมแดง และจะแตกออกเป็น 8 แฉก ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่สีน้ำตาลเข้มและมีสัน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ผล, เปลือกต้น, เมล็ด

สรรพคุณ สนหางสิงห์ :

  • ใบ รสขมฝาด ใช้ห้ามเลือด แก้ปวดข้อ ขับระดู คางทูม ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ตกเลือด แก้บิดไม่มีตัว แก้ไอ ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต
  • ผล  ใช้บรรเทาอาการลำไส้ตีบ หรือเป็นยากล่อมประสาทสำหรับผู้ที่หัวใจเต้นเร็วแล้วนอนไม่หลับ
  • เปลือกต้น  เป็นยาฝาดสมา ทำให้ระดูขาวแห้ง หรือฝนเป็นยากวาดทวารเบา
  • เมล็ด เป็นยาระบายอ่อน ๆ ใช้แก้อาการท้องผูก หรือจะใช้เมล็ดสนหางสิงห์ร่วมกับเมล็ดกัญชา อย่างละ 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานก็ได้
Scroll to top