ละมุด

ละมุด

ชื่อสมุนไพร : ละมุด
ชื่ออื่นๆ :
ละมุดฝรั่ง (ภาคกลาง), ชวานิลอ (ปัตตานี, มลายู, ยะลา), สวา
ชื่อสามัญ : Sapodilla
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manilkara zapota (L.) P.Royen
ชื่อวงศ์ : Sapotaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

  • ต้นละมุด เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นพุ่มทึบ กิ่งก้าน แตกออกรอบลำต้นเป็นชั้น ๆ ทรงพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา แตกกิ่งก้านเป็นชั้นรอบลำต้น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว
    ละมุด
  • ใบละมุด ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปรีถึงรูปรีแกมรูปขอบขนาน รูปไข่แกมรูปรี หรือรูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง 2.0-5.5 เซนติเมตร ยาว  6.0-14.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบมีสีน้ำตาลอมเขียว
  • ดอกละมุด ออกดอกเดี่ยว ตามง่ามกิ่ง กลีบรองดอกเรียงกัน เป็น 2 ชั้น กลีบดอกเชื่อมกันและยกตั้งขึ้น มี 6 กลีบ มีสีเหลืองนวล
  • ผลละมุด เป็นรูปไข่ หรือรูปปลายข้างหนึ่งแหลมเล็กน้อย ผิวผลมีสีน้ำตาล ผลยังไม่สุกมียางสีขาว รสฝาด แข็ง เมื่อสุกจะนิ่ม หวาน ไม่มียาง มีเมล็ดรูปยาว รี ผิวสีดำฝังอยู่ในเนื้อ ผลละ 2-6 เมล็ด
    ละมุด

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกต้น, ยางจากผล, เมล็ด

สรรพคุณ ละมุด :

  • เปลือกต้น นำมาต้มเป็นยาแก้บิด
  • ผล สุกนำมารับประทานเป็นผลไม้ หรือเตรียมผลไม้
  • ยางจากผลดิบ  ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิอย่างแรง
  • เมล็ด  เป็นยาบำรุง

ละมุดเป็นผลไม้ที่มีรสหวานจัด ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรบริโภคเพียงเล็กน้อยและนานครั้ง ๆ และไม่ควรให้เด็กเล็กรับประทานละมุดโดยลำพัง หากต้องการให้เด็กรับประทานควรเอาเมล็ดออกก่อนพร้อมหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอคำที่เด็กจะสามารถเคี้ยวได้ เนื่องจากเมล็ดของละมุดมีความลื่นและมีโอกาสจะหลุดเข้าไปในหลอดลมได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ฟันยังขึ้นไม่ครบ ก็ควรจะบดให้ละเอียด และไม่ควรป้อนอาหารด้วยความรีบร้อนเพราะเด็กอาจจะสำลักติดคอได้

Scroll to top